ชื่อ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28, มีนาคม 2024, 11:21:00 pm
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: :: Thontกล่องแอนดรอย livetv55 star4k hd2live iptvso เซิรฟskynet/500 ::

dvb

+  บอร์ดโบราณ ดาวเทียม - HD player - CCTV
|-+  อุปกรณ์เครื่องรับดาวเทียมทีวีดิจิตอล
| |-+  ถามตอบปัญหาดาวเทียมและทีวีดิจิตอล
| | |-+  เกิดพายุสุริยะ อาจส่งผลต่อดาวเทียม และระบบสื่อสาร มาถึงโลก 25 ม.ค. นี้
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เกิดพายุสุริยะ อาจส่งผลต่อดาวเทียม และระบบสื่อสาร มาถึงโลก 25 ม.ค. นี้  (อ่าน 3588 ครั้ง)
platogether
Full Member
***
กระทู้: 167


อีเมล์
« เมื่อ: 24, มกราคม 2012, 10:06:40 pm »


  เกิดพายุสุริยะ อาจส่งผลต่อดาวเทียม และระบบสื่อสาร มาถึงโลก 25 ม.ค. นี้

 สื่อต่างประเทศรายงานว่า ดวงอาทิตย์ได้เกิดปะทุขึ้น หรือเรียกกันว่า "พายุสุริยะ" ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ปล่อยรังสี ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ ให้ชื่อเปรียบเทียบว่า "Storm for SEVEN YEARS" ซึ่งแปลว่า การรวมตัวของรังสี ขนาดเท่ากับ พายุที่รวมตัวกันบนโลกนานถึง 7 ปี ซึ่งการระเบิดนั้น อยู่ทางฝั่งตะวันตกของดวงอาทิตย์ มีความเร็วประมาณ 93 ล้านไมล์/ชั่วโมง โดยจะพุ่งตรงมายังโลกถึง 3 ครั้ง แต่ละครั้งสถานที่ ที่ได้รับผลกระทบจะแตกต่างกันออกไป ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือการแพร่ออกมาของรังสีที่มีความเร็ว และจำนวนมากเกินไป อาจทำให้ดาวเทียม และนักบินอวกาศที่อยู่ใกล้พื้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และรังสีนั้น ยังสามารถทำให้ระบบการสื่อสาร สำหรับการเดินทาง, เครื่องบิน รวมถึงขั้วโลกได้รับผลกระทบไปด้วย ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์ กล่าวว่า ถือว่าเป็นลูกใหญ่มหึมามาก คาดว่ารังสีของมัน น่าจะมาถึงในวันพรุ่งนี้ 25 ม.ค. มีโอกาสมากที่เราจะได้รับผลกระทบรุนแรง และยังจะส่งผลต่อสภาพอากาศด้วย

  เครดิต http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000010825

   จบข่าวครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
sakzaa
Special Member
*
กระทู้: 988



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 24, มกราคม 2012, 10:14:04 pm »

จาก big Fm 93.25
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
platogether
Full Member
***
กระทู้: 167


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 24, มกราคม 2012, 10:22:40 pm »

-ข่าวก่อนหน้า
 
   เมื่อใกล้เที่ยงวันจันทร์ที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะได้ยิงกระสุนอนุภาคมีประจุพุ่งตรงมายังโลก เหตุการณ์ดังกล่าวคือปรากฏการณ์พายุสุริยะที่รุนแรงที่สุดในรอบ 6 ปี ซึ่งสิ่งที่น่าห่วงที่สุดคือการทำงานของดาวเทียมในวงโคจรและมนุษย์อวกาศที่อยู่นอกโลก
       
       จากรายงานขององค์การมหาสมุทรและบรรยากาศสหรัฐฯ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือโนอา (NOAA) นั้น เอพีระบุว่าเกิดการปะทุ (flare) บนดวงอาทิตย์ เมื่อเวลา 23.00 น.ของวันอาทิตย์ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (หรือเวลา 11.00 น. ของวันที่ 23 ม.ค.2012 ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อโลก 3 เรื่อง โดยประเด็นสำคัญสุดคือการแผ่รังสีจากอนุภาคมีประจุ
       
       ดัก บีเซคเกอร์ (Doug Biesecker) นักฟิสิกส์ประจำศูนย์สภาพอวกาศ (space weather center) ของโนอาระบุว่า การแผ่รังสีจากอนุภาคมีประจุนี้เป็นปัญหาใหญ่ในการรบกวนการทำงานของดาวเทียมและยังส่งผลกระทบต่อมนุษย์อวกาศที่อยู่ในวงโคจร โดยปราฏการณ์ดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของปัญหาในการสื่อสารแก่เครื่องบินที่สัญจรในแถบขั้วโลก
       
       การแผ่รังสีจากการปะทุครั้งนี้มาถึงโลกในอีกชั่วโมงถัดมาและยังคงมีรังสีแผ่มาอย่างต่อไปจนถึงวันพุธตามเวลามาตรฐานตะวันออก (ต่างจากไทย 12 ชั่วโมง) แม้ว่าระดับรังสีที่แผ่มานี้จะถือว่ารุนแรงแต่ก็เคยมีพายุอื่นๆ ที่รุนแรงกว่า ซึ่งบีเซคเกิอร์กล่าวว่าความรุนแรงของพายุสุริยะตามมาตรฐานโนอานั้นแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ รุนแรง (severe) และ รุนแรงที่สุด (extreme) อย่างไรก็ดี พายุสุริยะครั้งนี้ก็ยังคงแผ่รังสีออกมารุนแรงที่สุดนับแต่เดือน พ.ค.2005
       
       การแผ่รังสีในรูปของอนุภาคโปรตอนจากดวงอาทิตย์นั้นพุ่งมาด้วยความเร็ว 150 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งบีเซคเกอร์กล่าวว่า อวกาศระหว่างโลกไปถึงดาวพฤหัสบดีนั้นเต็มไปด้วยโปรตอน และเราไม่อาจกำจัดอนุภาคเหล่านี้ไปด้วยความเร็วระดับพายุสุริยะได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมอนุภาคที่ดวงอาทิตย์ส่งมาจึงส่งผลกระทบต่อโลกอยู่หลายวัน
       
       ทางด้าน ร็อบ นาไวแอส (Rob Navias) โฆษกขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) กล่าวว่า แพทย์ประจำเที่ยวบินอวกาศและและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปรากฏการณ์จากดวงอาทิตย์ของนาซาได้ประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการปะทุของดวงอาทิตย์ และตัดสินว่ามนุษย์อวกาศ 6 คนที่ประจำอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) ไม่จำเป็นต้องทำการใดเพื่อป้องกันตัวเองจากรังสี
       
       แอนต์ติ พัลก์กิเนน (Antti Pulkkinen) นักฟิสิกส์ของศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ในมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์แอนด์คาธอลิก (Maryland and Catholic University) กล่าวว่าการปะทุของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นเป็นจังหวะ 3 จังหวะต่อเนื่องกัน ครั้งแรกคือการแผ่รังสีของอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า ตามมาด้วยการแผ่รังสีในรูปอนุภาคโปรตอน
       
       สุดท้ายเป็นการพ่นมวลโคโรนา (coronal mass ejection) หรือซีเอ็มอี (CME) ซึ่งเป็นพลาสมาจากดวงอาทิตย์เอง ซึ่งปกติความเร็วของการแผ่รังสีอยู่ที่ 1.6-3.2 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ครั้งนี้ความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และพลาสมานี้เองก็สร้างปัญหาบนโลกได้อย่างมาก เช่น ทำให้สายส่งไฟฟ้าไม่ทำงาน ซึ่งเมื่อปี 1989 พายุสุริยะได้เป็นสาเหตุให้เกิดไฟดับครั้งใหญ่ที่เมืองควิเบก (Quebec) ของแคนาดา และยังทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ (northern light) หรืออโรรา (aurora) ลงใต้มากกว่าปกติ
       
       บีเซคเกอร์กล่าวว่า การพ่นมวลโคโรนานี้เหมือนจะมีความรุนแรงระดับกลางๆ ที่มีโอกาสจะรุนแรง โดยความเสียหายเลวร้ายที่สุดของพายุสุริยะนี้จะเกิดขึ้นบริเวณตอนเหนือของโลก แต่ปรากฏการณืครั้งนี้ต่างไปจากเหตุการณ์เมื่อเดือน ต.ค.ปีที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้นเกิดพายุสุริยะแปลกประหลาดที่ทำให้เกิดแสงออโรราลงใต้มาไกลถึงอลาบลามาของสหรัฐฯ แต่หนนี้เขากล่าวว่าจะไม่เกิดแสงเหนือลงใตมาไกลเช่นนั้นแล้ว โดยบางส่วนของรัฐนิวอิงแลนด์ ตอนเหนือของนิวยอร์ก ตอนเหนือของมิชิแกน มอนทานา และฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกจะเกิดปรากฏการณ์แสงออโรราให้เห็น
       
       ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ของเราค่อนข้างเงียบสงบ และดูเหมือนจะเงียบสงบเกินไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะเหตุการ์ณปกติตามวัฏจักร 11 ปีของกิจกรรมบนดวงอาทิตย์ และเมื่อปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มครุ่นคิดว่าดวงอาทิตย์อาจจะเข้าสู่วัฏจักรสงบนิ่งอย่างผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดประมาณศตวรรษละครั้ง แต่ตอนนี้บีเซคเกอร์กล่าวว่าไม่การเงียบผิดปกติเช่นนั้นแล้ว
       
       บีเซคเกอร์บอกด้วยว่าตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังจับตาดูดวงอาทิตย์ด้วยดาวเทียมดวงใหม่ของนาซาที่ถูกส่งขึ้นไปเมื่อปี 2010 ระหว่างที่ดวงอาทิตย์กำลังสงบ ซึ่งเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นยิ่ง เพราะเราไม่ได้เห็นเหตุการณ์ปะทุของดวงอาทิตย์มาหลายปีแล้ว ดังนั้น เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องพิเศษ

    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000010648
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
cha12
Special Member
*
กระทู้: 326


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 25, มกราคม 2012, 11:03:22 am »

ขอบคุณครับ 2012 กำลังจะมาหรือครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
pat120
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 25, มกราคม 2012, 04:40:35 pm »

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ชัดเจน
Special Member
*
กระทู้: 643



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 25, มกราคม 2012, 07:28:02 pm »

ขอบคุณครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
jeejar
Special Member
*
กระทู้: 139


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 25, มกราคม 2012, 08:21:30 pm »

ขอบคุณครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
bmax
Newbie
*
กระทู้: 26


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 25, มกราคม 2012, 09:37:53 pm »

ต้องรอลุ้นครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
nt_nirut
Newbie
*
กระทู้: 62


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 25, มกราคม 2012, 10:36:11 pm »

ขอบคุณมากๆคับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
nasithai
Special Member
*
กระทู้: 28


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: 26, มกราคม 2012, 12:42:24 pm »

คงไม่ไมีอะไร มั้ง ครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
chaiphuket
Sr. Member
****
กระทู้: 353


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: 26, มกราคม 2012, 03:55:39 pm »

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
phopphop
Special Member
*
กระทู้: 242


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: 26, มกราคม 2012, 08:08:50 pm »

ขอบคุณครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  
 
dsat1 จำหน่ายติดตั้งจานดาวเทียม
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.7 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง