ชื่อ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
18, เมษายน 2024, 09:20:09 pm
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: :: Thontกล่องแอนดรอย livetv55 star4k hd2live iptvso เซิรฟskynet/500 ::

dvb

+  บอร์ดโบราณ ดาวเทียม - HD player - CCTV
|-+  อุปกรณ์เครื่องรับดาวเทียมทีวีดิจิตอล
| |-+  ถามตอบปัญหาดาวเทียมและทีวีดิจิตอล
| | |-+  ข่าวเกี่ยวกับ กสทช 2 เรื่องสองรส ซิมมือถือ กับ stb ทีวีดิจิตอล
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ข่าวเกี่ยวกับ กสทช 2 เรื่องสองรส ซิมมือถือ กับ stb ทีวีดิจิตอล  (อ่าน 2034 ครั้ง)
newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« เมื่อ: 18, กุมภาพันธ์ 2013, 07:42:52 pm »

กสทช.ยังไม่ให้จัดจำหน่ายโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 กุมภาพันธ์ 2556 19:08 น.   
 
 
 
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช.ในวันนี้ ได้มีการพิจารณาเรื่องมาตรฐานโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล จากเดิมที่กำหนดให้เซ็นทรัลบล็อก มีเวอร์ชั่นอยู่ที่ 1.31 ให้อัพเกรดเป็นเวอร์ชั่น 1.21 เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากในตลาดมีที่ยอมรับเป็นวงกว้างในการใช้ระบบนี้ รวมถึงมีมาตรฐานในการควบคุมระบบการนำส่งคลื่นสัญญาณ เช่นเดียวกับประเทศยุโรป ทาง กสทช.จึงได้มีมติเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว พร้อมกันนี้ ยังไม่ให้มีการจัดจำหน่ายโทรทัศน์ และระบบกล่องเซ็นทรัลบล็อกในระบบดิจิตอล เนื่องจากรอให้สภาพการตลาดรวมไปถึงกฎของทาง กสทช. ออกมาอย่างเต็มรูปแบบก่อน ซึ่งผู้ที่ดำเนินการขาย หรือจัดจำหน่ายในขณะนี้ถือว่า มีความผิดตามกฎหมาย

 
 
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18, กุมภาพันธ์ 2013, 07:43:32 pm »

กสทช. กับ “มือถือเติมเงิน” ตบหน้าผู้บริโภค-มวยล้มต้มคนดู
 
 
โดย กิตตินันท์ นาคทอง 18 กุมภาพันธ์ 2556 16:34 น.   
 
 
 

   
 
 
   
 

 
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
  ผมเชื่อว่าคุณผู้อ่านที่เป็นคนทำงาน และต้องติดต่อสื่อสารกันเป็นประจำ หลายคนน่าจะมีโทรศัพท์มือถือพกติดตัวอย่างน้อย 1-2 เครื่อง เพราะความจำเป็นในการใช้งานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
       
       บ้างก็เพราะเป็นเครื่องที่บริษัทให้ใช้ฟรี บ้างก็เผื่อเวลาแบตเตอรีมือถือสมาร์ทโฟนหมด บ้างก็มีติดตัวเพราะแยกไว้สำหรับติดต่องาน กับเรื่องส่วนตัว
       
       โดยส่วนตัวก่อนหน้านี้พกโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่องครับ เครื่องหนึ่งเป็นมือถือจอขาวดำ ไว้โทรออก รับสาย ซึ่งเบอร์นี้ใช้มานานกว่า 6 ปีแล้ว ส่วนอีกเครื่องหนึ่งไว้ใช้งานโมบายล์อินเตอร์เน็ต เช่น 3จี
       
       มือถือทั้งสองเครื่องผมเลือกใช้ระบบเติมเงินทั้งหมด เพราะต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย จะได้ไม่ต้องกังวลเวลาค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่จะมาพร้อมกับใบแจ้งค่าบริการช่วงสิ้นเดือน
       
       อันที่จริงในชีวิตผมเริ่มมีมือถือพกติดตัวมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย ซึ่งคงเป็นเพราะค่านิยมของวัยรุ่นเวลานั้น แม้กฎระเบียบของทางโรงเรียนจะห้าม แต่ก็พออนุโลมเมื่อไม่ใช้ในระหว่างการเรียนการสอน
       
       สมัยนั้นมือถือเครื่องหนึ่งราคาไม่ได้ถูกลงเฉกเช่นทุกวันนี้ สังคมก็มักจะมองว่ามือถือเป็นสิ่งที่ฟุ้งเฟ้อ เมื่อเทียบกับวัยรุ่นที่ไม่ได้จำเป็นต้องติดต่อธุระกับโลกภายนอกเหมือนคนทำงาน หรือพ่อค้าแม่ขาย
       
       เท่าที่สืบค้นข้อมูลเบื้องต้น มือถือระบบเติมเงินเริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับสังคมไทย นับตั้งแต่เครือข่ายเอไอเอสได้วางจำหน่ายมือถือระบบเติมเงินครั้งแรกภายใต้ชื่อ "วันทูคอลล์" เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2542
       
       ต่อมาเครือข่ายแทค หรือดีแทคในปัจจุบันได้ขายมือถือระบบเติมเงินโดยใช้ชื่อว่า "พร้อม" แต่ทั้งสองเครือข่ายมีข้อจำกัดตรงที่มือถือที่จำหน่ายมีการล็อกอีมี่ ทำให้ไม่สามารถใส่ซิมการ์ดเครือข่ายอื่นได้
       
       ภายหลังจากที่เครือข่าย "ออเร้นจ์" ซึ่งร่วมทุนระหว่างซีพีกับออเร้นจ์จากฝรั่งเศสเปิดตัวเมื่อปี 2544 ประกอบกับดีแทคประกาศปลดล็อกอีมี่เมื่อปี 2545 ทำให้มือถือระบบเติมเงินเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น
       
       เพราะมีการแย่งชิงลูกค้าด้วยการทำสงครามราคาค่าโทร กระทั่งในการโทรข้ามเครือข่ายมักจะมีปัญหาโทรไม่ติด สายไม่ว่างบ่อยครั้ง นำไปสู่การคิดค่าเชื่อมโยงเครือข่าย หรือไอซีในปัจจุบัน
       
       ปี 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประชาชนไทยใช้มือถือกว่า 80 ล้านเลขหมาย
       
       แต่ในแวดวงโทรคมนาคมส่วนใหญ่รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นมือถือระบบเติมเงิน โดยมีเครือข่ายเอไอเอสเป็นเจ้าตลาด มีดีแทคเป็นเบอร์สอง และทรูมูฟเป็นเบอร์สามของตลาดมือถือ
       
       หลังการประมูลใบอนุญาต 3 จี เสร็จสิ้นก่อนหน้านี้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้อนุมัติจัดสรรเลขหมายแก่ผู้ชนะการประมูล คือ เอไอเอส 14 ล้าน ดีแทค 8 ล้าน และทรูมูฟ 4 ล้าน
       
       ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการสรุปออกมาว่า ขณะนี้มีจำนวนเลขหมายที่ กสทช. จัดสรรไปแล้วมากถึง 144 ล้านเลขหมาย ซึ่งคาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 200 ล้านเลขหมาย
       
       หากเทียบกับจำนวนประชากรในประเทศไทย 69.52 ล้านคน จากข้อมูลเว็บไซต์ธนาคารโลก เท่ากับว่าเรามีเลขหมายโทรศัพท์มือถือมากกว่าประชากรรวมกันทั้งประเทศเสียอีก
       
       ปัญหาสำคัญของมือถือระบบเติมเงินก็คือ การคิดค่าโทรที่แพงขึ้น หลังการประกาศใช้ค่าไอซีสำหรับการโทรหากันระหว่างเครือข่ายอยู่ที่ 1.07 บาทต่อนาที จะหาค่าโทรราคาถูกแบบสมัยก่อนคงไม่มี
       
       อีกปัญหาหนึ่ง คือวันหมดอายุมือถือระบบเติมเงิน สมัยก่อนต้องเติมเงินขั้นต่ำ 300 บาท ใช้ได้ 30 วัน แม้สมัยนี้จะสามารถเติมเงินมือถือจำนวนน้อยๆ ขั้นต่ำ 10 บาทได้ แต่วันใช้งานก็น้อยลงตามไปด้วย
       
       ในเมื่อผู้บริโภคหันมาเติมเงินในจำนวนน้อยลง วันใช้งานก็จะได้น้อยลงตามไปด้วย ที่สุดจึงเกิดปัญหาเงินเหลือในระบบ แต่วันใช้งานหมดอายุ ค่ายมือถือบางแห่งจึงเปิดโอกาสให้เอาค่าโทรแลกวันใช้งาน
       
       ไม่นับรวมผู้บริโภคประเภทผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่อาศัยตามชนบท มักจะเติมเงินน้อยครั้งเพราะเน้นรับสายมากกว่า จึงมีซิมการ์ดอีกประเภทหนึ่งที่เน้นเพิ่มวันใช้งาน แต่ต้องแลกกับค่าโทรที่แพงกว่าอีกเท่าตัว
       
       กสทช. จึงออกประกาศให้ทุกเครือข่ายห้ามคิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ และยกเลิกวันหมดอายุโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงินทุกเครือข่าย นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา
       
       หลัง กสทช. ออกประกาศใหม่ๆ ส่วนใหญ่ค่ายมือถือต่างไม่ปฏิบัติตาม บางค่ายปล่อยให้มีโปรโมชั่นที่เกินกว่านาทีละ 99 สตางค์จำนวนมาก อย่างค่ายเอไอเอสมีมากถึง 66 โปรโมชั่น ดีแทค 33 โปรโมชั่น
       
       ภายหลังเอไอเอสหันมาใช้วิธีแก้ขัด ด้วยการออกโปรโมชั่น “30 กำลังดี” โดยคิดค่าโทรนาทีละ 99 สตางค์ และเพิ่มวันใช้งาน 30 วันทุกการเติมเงิน แต่ในระบบยังคงกำหนดวันหมดอายุเหมือนเดิม
       
       ขณะที่ดีแทคกลับส่งหนังสือขอต่อรองกับ กสทช. ให้ยังคงโปรโมชั่นเดิมที่เกินกว่า 99 สตางค์แก่ลูกค้าจนกว่าโปรโมชั่นจะสิ้นสุดลง และเพิ่มวันใช้งาน 30 วันทุกการเติมเงิน แต่ไม่ยกเลิกวันหมดอายุ
       
       ดีแทคอ้างว่า การยกเลิกวันหมดอายุมือถือระบบเติมเงิน ทำให้เกิดการขาดแคลนเลขหมาย หรือไม่เช่นนั้น ต้องพิจารณาจัดสรรเลขหมายเพิ่มเติมให้ดีแทค และเครือข่ายอื่นๆ เป็นกรณีพิเศษด้วย
       
       ผมไม่เข้าใจเหตุผลของดีแทคครับ เดี๋ยวนี้แต่ละค่ายมือถืออนุญาตให้ย้ายค่ายเบอร์เดิมได้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อเบอร์ใหม่ แต่ระบบเคลียริงเฮาส์ที่ย้ายได้แค่วันละ 4 หมื่นเลขหมาย ผมว่าห่วยไปหน่อย
       
       ที่สุดแล้วเมื่อไม่นานมานี้ กสทช. ก็ได้ออกมากลับลำชนิดที่ว่าตบหน้าผู้บริโภคอย่างแรง ด้วยการอนุญาตให้ทุกค่ายมือถือให้มีวันหมดอายุระบบเติมเงินได้ เสมือนเป็นการฉีกประกาศที่ร่างกับมือทิ้ง
       
       กสทช. ได้วางเงื่อนไขที่อาจเรียกได้ว่าเอื้อประโยชน์ให้กับทุกค่ายมือถือ โดยให้ลูกค้าที่เติมเงินทุกราคาต้องได้วันใช้งานอย่างน้อย 30 วัน และสะสมวันสูงสุด 365 วัน
       
       ไม่ต่างจากที่ดีแทคและเอไอเอสออกโปรโมชั่นแก้ขัดก่อนหน้านี้ หวังที่จะประวิงเวลาไม่แก้ไขหรือยกเลิกวันหมดอายุในระบบ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคบางคนต่างเข้าใจผิด ต้องเติมเงินกันจ้าละหวั่นมาแล้ว
       
       นอกจากนี้ หากวันใช้งานหมดอายุ แต่มียอดเงินคงเหลือในระบบ ค่ายมือถือจะต้องคืนเงินคงเหลือทั้งหมดให้แก่ผู้ใช้บริการ แต่โอนยอดเงินคงเหลือไปยังเลขหมายอื่นที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันได้
       
       แทนที่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ อย่างน้อยสามารถเรียกเงินคืนจากค่ายมือถือนั้นๆ เป็นค่าเสียหายก็ทำไม่ได้ กลายเป็นการอัฐยายซื้อขนมยาย ยิ่งตอกย้ำว่า เอื้อประโยชน์แก่ค่ายมือถือนั้นๆ ชัดเจน
       
       ที่น่าตกใจ คือ การกลับลำของ กสทช. ครั้งนี้ ซึ่งกระทบผู้บริโภคเต็มๆ แต่ไม่มีสื่อมวลชนรายไหนนำเสนอข่าว มีเพียงเว็บไซต์ Blognone ที่อ้างถึงจากอีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.เท่านั้น
       
       ผมเขียนเรื่องนี้ อย่างน้อยก็มีความหวังลึกๆ ว่าผู้บริโภคอย่างเราน่าจะรับรู้ และตื่นขึ้นมาจับตามองเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมาก็เคยถูกเอารัดเอาเปรียบ จ่ายเงินครบแต่ได้สัญญาณห่วยๆ มาก็มาก
       
       หลายคนที่ทราบข่าวเรื่องนี้ แน่นอนว่าไม่เห็นด้วย เกิดความไม่พอใจ และตั้งข้อสงสัยถึงท่าทีของ กสทช. ที่ยอมให้กับนายทุนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ประชาชนกลับเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์เต็มๆ
       
       อันที่จริงการทำหน้าที่ของ กสทช. เป็นที่วิจารณ์จากสังคมหลายเรื่อง ทั้งกรณีบอลยูโรจอดำที่ทำอะไรไม่ได้ หรือการประมูลใบอนุญาต 3 จี ที่มีเพียงผู้เข้าร่วมประมูลหน้าเดิม 3 ราย และค่าสัมปทานถูกอย่างเหลือเชื่อ
       
       ผมลองถามความเห็นเรื่องนี้กับพี่ๆ เพื่อนๆ ในโซเชียลมีเดีย ได้รับคำตอบที่หลากหลายครับ บ้างก็ว่าค่ายมือถือน่าจะไม่มีวันหมดอายุ แต่อาจจะมีค่ารักษาเลขหมายเหมือนบัญชีธนาคาร
       
       ผมเข้าใจดีครับว่าค่ายมือถือต่างก็มีภาระ อย่างเลขหมายที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ค่ายมือถือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมให้ กสทช. เดือนละ 1.07 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน
       
       ไอเดียนี้ผมว่าน่าสนใจครับ เพราะในปัจจุบันธนาคารต่างๆ คิดค่ารักษาบัญชีในกรณีที่ไม่มีบัญชีเคลื่อนไหว 1 ปี ซึ่งในแต่ละปีมีบัญชีธนาคารเป็นล้านบัญชี ยังทำได้ ทำไมค่ายมือถือถึงคิดเรื่องนี้ไม่เป็น
       
       บางคนเล่าว่าที่ผ่านมาต้องถูกตัดเบอร์ ทั้งที่มียอดเงินคงเหลือจำนวนมาก ทั้งที่ใช้เบอร์นั้นหลายปี เพราะหลังเรียนจบและย้ายกลับมาอยู่ต่างจังหวัด เครือข่ายนั้นกลับไม่มีสัญญาณ ทวงเงินคืนก็ไม่ได้
       
       บางคนยืนกรานว่า แม้วันหมดอายุ แต่ยังไงเงินเหลือก็ต้องโทรออกได้ แต่ถึงกระนั้นเมื่อ กสทช. กลับลำแบบถ่มน้ำลายรดหน้าตัวเองขนาดนี้ ผู้บริโภคอย่างเราๆ จะทำอะไรกับค่ายมือถือเหล่านั้นได้
       
       ผมมีความรู้สึกว่า กสทช. ฟังเสียงประชาชนน้อยเกินไป อีกทั้งเหตุผลของค่ายมือถือที่ต้องการกำหนดวันหมดอายุ ไม่รู้ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ แต่เท่าที่ฟังเสียงก็เหยียบหน้าประชาชนไปข้างหนึ่งแล้ว
       
       เรื่องนี้ตบมือข้างเดียวไม่ดังหรอกครับ ในเมื่อ กสทช. ยังเกรงใจกับค่ายมือถือรายใหญ่ ชนิดที่ว่าเลี้ยงดูปูเสื่อกันขนาดนี้ ผมมองว่าผู้บริโภคหากไม่นิ่งดูดายก็ต้องออกมาทำอะไรสักอย่างได้แล้ว
       
       ผมสนับสนุนให้ทั้งผู้บริโภค กสทช. และค่ายมือถือกลับมาตกลงกันในเรื่องวันหมดอายุมือถือระบบเติมเงินอีกครั้ง โดยไม่ใช่มีเพียงแค่ตัวแทนผู้บริโภคในห้องแอร์ แต่ประชาชนภายนอกต้องมีส่วนร่วมด้วย
       
       อย่างน้อยที่สุด ส่วนตัวผมยืนยันว่ามือถือเติมเงินต้องไม่มีวันหมดอายุ แต่จะจัดการกับเบอร์ที่ไม่มีการเคลื่อนไหวทั้งเติมเงินและโทรออกเป็นปีๆ อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับกติกาของค่ายมือถือนั้นเอง.

 
 
 
 
 
 
 
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

dk
Hero Member
*****
กระทู้: 2,228



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 18, กุมภาพันธ์ 2013, 08:33:31 pm »

ที่ประชุม กสท.มีมติปรับสเปคกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตตอลให้มีราคาถูกลง
    วันที่ข่าว : 18 กุมภาพันธ์ 2556
ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มีมติปรับสเปคกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตตอลให้มีราคาถูกลง เปิดโอกาสประชาชนรับชมโทรทัศน์ดิจิตอลอย่างทั่วถึง
พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท.เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสท. วันนี้ (18 ก.พ.56) มีมติให้ปรับปรุงประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยให้แก้ไขเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หรือ Set Top Box ให้เป็นระบบ ดีวีบี – ที2 เวอร์ชั่น 1.2.1 จากเดิมเป็นระบบดีวีบี – ที2 เวอร์ชั่น 1.3.1 เนื่องจากเห็นว่าในปัจจุบันกล่องเวอร์ชั่น 1.2.1 มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่มีกำลังผลิตอาทิ โตชิบา ซัมซุง แอลจี ซึ่งจะส่งผลให้กล่องรับสัญญาณมีราคาถูกลง จากกลไกการแข่งขันในตลาดและผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อตามความต้องการ พร้อมให้เพิ่มมาตรฐานทางเทคนิคให้แม่เหล็กไฟฟ้าและกำหนดกำลังไฟฟ้า สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอลด้วย หลังจากนั้นจะนำไปรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยให้ผู้ประกอบการผลิตเซต ทอป บ็อกซ์ มาแสดงความคิดเห็นต่อประกาศดังกล่าวในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ และคาดว่าจะสามารถเริ่มอนุญาตให้ผลิตและนำเข้ากล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลได้ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายนนี้

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : อนงนาฎ สิทธิคง / สวท. อนงนาฎ สิทธิคง / สวท.
Rewriter : ศศิธร ภู่จีนาพันธ์ / สวท. ศศิธร ภู่จีนาพันธ์ / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
oldwood
Jr. Member
**
กระทู้: 112


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 18, กุมภาพันธ์ 2013, 09:49:02 pm »

กสทชวด  อย่าว่าแตนำ้ยาเลย ขนมจีนยังไม่ได้ซื้อเลย ถ้าแน่จริงค่ายไหนเอาเปรียบประชาชน  สั่งระงับให้บริการ7 วัน ไม่ดีขึ้นปิดเดือนนึง  พร้อมค่าปรับ  มีเหมือนไม่มี  กสทชวด  ดีแต่ออกทีวีไปวันๆ  รอตอนแจกคูปองคงมั่วกันน่าดู
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
sant
Newbie
*
กระทู้: 34


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 19, กุมภาพันธ์ 2013, 04:23:07 am »

อย่างนี้ต้องตรวจสอบทรัพย์สินครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
aiyob
Special Member
*
กระทู้: 325


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 19, กุมภาพันธ์ 2013, 10:00:22 am »

อ้าวเราดีใจได้ไม่กี่วัน โดยตบหน้าสะงั้น กำลังโม้กับน้องชายเลยว่า ไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ ไหงเป็นงั้นหว่า... นึกว่ามี กสทชวด แล้วผู้บริโภคจะได้พึ่งพา กลายเป็นมือเป็นตีนให้นายทุนซะงั้น....ดูๆไปเด็กเล่นขายของยังจะมีความน่าเชื่อถือได้มากกว่าอีก
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
superjane20
Full Member
***
กระทู้: 158


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 19, กุมภาพันธ์ 2013, 09:25:10 pm »

เป็นผู้เชี่ยวชาญกินเงินเดือนคนละแสนกว่าทำได้แก่นี้เองเหรอ เสียดายตังค์จริงๆห่วยจัง
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  
 
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.7 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.029 วินาที กับ 19 คำสั่ง