ชื่อ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24, เมษายน 2024, 06:12:56 pm
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: :: ต้องการประชาสัมพันธ์สินค้าติดต่อ boransat@gmail.com ::

dvb

+  บอร์ดโบราณ ดาวเทียม - HD player - CCTV
|-+  อุปกรณ์เครื่องรับดาวเทียมทีวีดิจิตอล
| |-+  ถามตอบปัญหาดาวเทียมและทีวีดิจิตอล
| | |-+  ลองอ่านดูเรื่องการติดตั้งแผงโซล่าเซล ขนาด เจ๊แตงกวา ยังบอกว่าอย่าคิดลอง
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ลองอ่านดูเรื่องการติดตั้งแผงโซล่าเซล ขนาด เจ๊แตงกวา ยังบอกว่าอย่าคิดลอง  (อ่าน 14535 ครั้ง)
newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:19:18 pm »

  เจ๊ แตงกวา  ถือว่าดังในหว้ากอ  สร้าง เรื่องเยอะแยะ  คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า ถ่านหิน และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เจ๊ แตงกวา  เป็นพวก ngo  ยังบอกว่าอย่าคิดลอง

      ผมอยากติดตั้งแผง โซล่าเซล ใครมีข้อแนะนำบ้างครับ
กระทู้คำถาม
เทคโนโลยีการศึกษา
คือ ผมอยากติดตั้งแผงโซล่าเซล ที่บ้านครับ เพื่อนๆ ว่าจะดีไหมครับ แล้วใครมีข้อแนะนำอะไรเกี่ยวกับการติดตั้ง หรือบริษัทที่รับติดตั้งให้ผมบ้างครับ
อันที่จริง ผมว่าบ้านการใช้ไฟฟ้าบ้านผมไม่คุ้มค่ากับการติดแผงโซล่าเซลหรอกครับ แต่ผมรู้สึกว่าการติดแผงโซล่าเซลมันลดการใช้ไฟฟ้าจากการผลิตของการไฟฟ้า และช่วยลดมลพิษในการผลิตด้วย ใครมีความเห็นว่าไงกันบ้างครับ แนะนำหน่อย (ไม่รู้ว่าจะแท็กอะไร)
0 0   
สมาชิกหมายเลข 2196872
1 ชั่วโมงที่แล้ว  [IP: 114.199.20.99]
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:19:35 pm »

ความคิดเห็นที่ 1
ข้อแนะนำคือ   ถ้าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าถึง    อย่าคิดสั้นติดดีกว่าครับ    ต้นทุนมันแพงกว่ากันลิบลับ

อีกทั้งโซล่าเซลล์นี้ใช่ว่าจะไม่มีมลพิษ    การผลิตโซล่าเซลล์นั้นสร้างมลพิษมากพอดูเลยทีเดียว      แถมยังมีแบตเตอรี่อีก    แบตเตอรี่ใช้ปีสองปีก็เสื่อมต้องเปลี่ยนใหม่   แบตเตอรี่นี่แหละสร้างมลพิษอย่างมาก    ไม่นับต้นทุนการเปลี่ยนแบตเตอรี่อีกนะ    สรุปแล้วเปลี่ยนไปใช้โซล่าเซลล์ตอนนี้ก็คือการสร้างมลพิษให้โลกหนักขึ้นไปอีก
ตอบกลับ
0 1   
zodiac28 
1 ชั่วโมงที่แล้ว
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:19:57 pm »

ความคิดเห็นที่ 2
มันไม่คุ้มครับ
ตอบกลับ
0 0   
aircraftdesigner   
1 ชั่วโมงที่แล้ว
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:21:41 pm »

   นี่คำตอบ เจ๊ แตงร้าน   เอ๊ย  เจ๊ แตงกวา

ที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 

 เจ๊แตงกวา  ถือเป็นพวก  เข้าข้าง ngo  ต้องการ โรงไฟฟ้าที่ไม่ทำลาย ธรรมชาติ  ยังบอกว่า อย่าคิดลอง

         ความคิดเห็นที่ 3
ข้อแนะนำคือ อย่าคิดทำโดยเด็ดขาด เจ้าค่ะ
ตอบกลับ
0 0   
        แ ต ง ก ว า * 
25 นาทีที่แล้ว
     
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:22:02 pm »

ความคิดเห็นที่ 4
ระวังไฟไหม้
ตอบกลับ
0 0   
LucPower 
26 นาทีที่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 5
ระวังหลังคารั่ว
ตอบกลับ
0 0   
สมาชิกหมายเลข 2021229
14 นาทีที่แล้ว  [IP: 202.176.109.159]
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:22:18 pm »

http://pantip.com/topic/33426663
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:29:20 pm »

 หามาเจออีก

   ความคิดเห็นที่ 6
ผมรับติดครับ และจำหน่ายด้วย
แต่ต้องถามก่อนว่าไฟฟ้าเข้าถึงไหม ถ้าเข้าถึงแล้วก็อย่าติดเลยครับ
ลูกค้าผมอยู่ กทม แกบอกอยากติดอยากช่วยโลก ติดไป 2KW. ใช้แบตไป 130Ah
8 ลูก ต้องเติมน้ำกลั่นเดือนล่ะ 24 ขวด
แต่ถ้าไฟฟ้าเข้าไม่ถึงก็คุ้มครับ
มีอ่ะไรหลังไมล์ครับ ให้คำปรึกษาได้ครับ
ตอบกลับ
0 0   
สมาชิกหมายเลข 766949
4 มิถุนายน 2556 เวลา 21:44
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:30:39 pm »

http://pantip.com/topic/30566605
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

click
Special Member
*
กระทู้: 3,733



อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:33:01 pm »

ในความคิดผมทำไว้เป็นไฟฟ้าสำรอง ใช้กับอุปกรณืบางชิ้นเพื่ออลดการใช้ไฟฟ้า ไม่ทำหวังขายดีกว่า
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:38:20 pm »

ความคิดเห็นที่ 3
คำว่า พลังงานทดแทน ต้องดูด้วยครับว่า ใช้ที่ไหน ถ้าพูดถึงเรื่อง Solar Cell คนมักจะเข้าใจผิดว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน จึงน่าจะเหมาะสมในการใช้ Solar Cell ซึ่งไม่ตรงกับความจริงครับ เพราะฉะนั้นถามว่าทำได้มั้ย? ทำได้ครับ แต่ถามว่าเหมาะสมกับประเทศไทยมั้ย จริงๆแล้วไม่เหมาะสมหรอกครับ จริงที่ประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อนครับ แต่นี่คือทางด้านอุณหภูมิ ไม่ได้เกี่ยวกับจำนวนแดด หากเราพูดถึงจำนวนของแดด ประเทศไทยจัดว่า น้อยครับ ซึ่งหากต้องการจะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนในไทยนั้น ถือว่าไม่คุ้มทุนครับ อันนี้เราพูดถึงระดับประเทศ ไม่ใช่ระดับที่ใช้ติดบนหลังคาส่วนบุคคลนะครับ  อย่างที่เห็นได้จากแผนที่ข้างล่างว่า ถ้าพูดถึงจำนวนแสงแดดในประเทศไทยนั้น อยู่ในโซนสีเขียว/เหลือง หรือโซนน้อยนั่นเอง ซึ่งจากแผนที่ก็จะเห็นได้ชัดอีกว่า โซนที่มีแสงแดดเยอะ คือ ในแถบประเทศจีน ยุโรปทางตอนใต้ และแอฟริกา ซึ่งที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ขณะนี้มีการตั้งโรงงาน Solar Power Plant แล้วทั้งสิ้นครับ 

 

   ส่วนที่ว่า "พลังงานมายักษ์ใหญ่อย่างจีน กำลังก้าวเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน" ก็ต้องขอให้พูดถึงรายละเอียด และที่เป็นมาให้หมดด้วยครับว่า ที่จีนกำลังก้าวมาเป็นผู้นำด้านนี้เพราะอะไรกันแน่ เพราะความจริงแล้วที่มาถึงจุดนี้ได้ วิธีที่จีนทำก็ไม่ใสสะอาด จนสุดท้ายเป็นผลที่ตามมา คือ ทั้ง European Commission และ USA ต่างตั้งด่านภาษีสูงลิ่ว (anti-dumping tariffs) เพื่อลดจำนวน PV จากจีนลง เหตุก็เนื่องมาจากจีนใช้วิธีการกดราคา PV หรือที่เรียกกันว่า dumping จนคู่ต่อสู้ไม่สามารถอยู่ได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ทำให้บริษัททั้งในยุโรปและอเมริกาต้องปิดตัวลงอย่างรวดเร็วไปตามๆกัน ซึ่งจากการคำนวณของ EU ราคาที่จีนขาย PV ในตลาดปัจจุบัน เป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ควรจะขายถึง 88%! ซึ่งแน่นอนว่า บริษัททั่วโลกไม่มีบริษัทไหนสามารถที่จะต้านทานได้อยู่แล้วครับ ขายไปยังไงก็เจ๊งไปตามๆกัน เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งในเรื่องนี้ เพราะถือว่า เป็นการทำธุรกิจที่ไม่ใสสะอาดเลยจริงๆ 

คราวนี้เรากลับมาที่เรื่อง PV กันต่อครับ จริงๆแล้วเคยมีการทำ Research ในเยอรมันเรื่องนี้มาแล้วนะครับว่า พลังงานไฟฟ้าจากแสงแดดอย่างเดียว สามารถที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานหลักของประเทศทั้งประเทศเลยได้หรือไม่ คำตอบ คือ ได้ครับ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันก็เป็นไปได้แล้ว และในอนาคตก็น่าจะยิ่งดีขึ้น แต่ถ้ามว่าคุ้มทุนหรือไม่ ก็สามารถตอบได้เลยครับว่า ไม่คุ้มครับ ที่ผมยกตัวอย่างเยอรมันเพราะประเทศไซส์ใกล้เคียงกัน และเป็นประเทศที่มีจำนวนแสงแดดไม่มากเช่นเดียวกัน ทุกวันนี้ที่เยอรมันทำก็คือ ใช้พลังงานจาก PV ผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 4-5% จากพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งสำหรับประเทศไทยเอง สถานการณ์ก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก ปริมาณแสงแดดอาจจะมากกว่าหน่อย แต่ก็ไม่ได้มากถึงขั้นที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานหลักได้อย่างคุ้มทุนครับ เว้นแต่จะไปมีการตกลงอะไรกับจีนในอนาคตได้ อันนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งในส่วนของเยอรมันนั้น บริษัทไฟฟ้าหลักๆทั่วประเทศหันไปลงทุนหนักที่พลังงานลมซักพักแล้วครับ พลังงานแสงแดดไม่ได้รับความสนใจมากแล้ว เว้นแต่วันหนึ่งหากสามารถที่จะส่งไฟฟ้าที่ผลิตจากยุโรปทางใต้ หรือจากแอฟริกาได้ โดยไม่มีการสูญเสียพลังงานระหว่างทาง ก็อาจจะได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่คุ้มทุนแน่นอนครับ

จริงๆเรื่องนี้เคยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในหลายกระทู้แล้ว บทสรุปที่ค่อนข้างจะเห็นตรงกันก็คือ ประเทศไทยควรจะเน้นไปที่ Biomass มากกว่าครับ อย่างที่ จขกท กล่าวไว้ ทางด้านลมประเทศไทยเราก็ไม่มีลมมากพอที่จะใช้คุ้มทุน แต่ข้อแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมันกับประเทศไทย คือ ประเทศเยอรมันมีกฏหมายที่ออกมาช่วยสนับสนุนพลังงานทดแทน ซึ่งช่วยสนับสนุนบริษัท และประชาชนที่หันมาทำด้านพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง ซึ่งตรงนี้เท่าที่ผมทราบไทยยังไม่มี หรือถึงมีก็ไม่ได้จริงจังถึงขั้นที่ทางรัฐเข้ามาช่วยอย่างเต็มที่ (แต่ผมไม่มีข้อมูลที่แน่นอนนะ ซึ่งสมาชิกที่มีข้อมูลแน่นอนเรื่องนี้ น่าจะออกมาตอบทีหลัง ก็รออ่านแล้วกันครับ) ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด Step แรกของการจะเริ่มพัฒนาระบบพลังงานทดแทน จะต้องหวังพึ่งรัฐด้าน subsidy เป็นอย่างมากในตอนแรก ซึ่งหากรัฐไม่หันมาช่วยตรงนี้อย่างจริงจัง ก็ยากครับ
ตอบกลับ
2 0   
Prudence 
30 มิถุนายน 2556 เวลา 21:35 น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27, มีนาคม 2015, 04:18:06 am โดย ทีมงานบอร์ดโบราณ » แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:39:19 pm »

  คห ข้างบน เป็นข้อมูลว่า ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนแต่ว่า ไม่ได้มีแดดแรงอย่างที่เชื่อกัน

แต่ประเทศจีน แดดดีกว่า

แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:40:06 pm »

 ข้อมูล แผงโซล่าเซล

ความคิดเห็นที่ 5
แผงโซล่าเซลราคาแพงและไม่ได้รับประกันว่าจะใช้งานได้ตลอด๒๐ปี ต้องใช้หลายๆแผงมันก็อาจจะเสียได้
และจุดอ่อนอีกอันหนึ่งคือ (grid tied inverter) อินเวอเตอร์ต่อเชื่อมตลอดเวลากับสายไฟเอซี๒๒๐โวล์
อุณหภูมิและฟ้าผ่าคือปัญหาหลักๆ

ระบบในปัจจุบัน เลยเอาอินเวอเตอร์ติดไว้ใต้แผงทุกๆแผงแลย
ถ้ามันเสียก็จะเสียฉะเพราะแผงนั้นๆไม่เสียทั้งหมด
และใช่คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอินเวอเตอร์อีกชั้นหนึ่ง

เนื้อที่หลังคาทั้งหมด ก็ยังผลิตไฟไม่พอใช้สำหรับบ้านในกรุงเทพ
เพราะคนกรุงเทพใช้ไฟฟ้าฟุ่มเฟืยมีตู้เย็นและแอร์
ดังนั้นทั้งระบบจึงราคาแพงมากและไม่คุ้มกับค่าเงินที่ลงทุนไปครับ

ถ้าอยู่บ้านนอกไฟฟ้าไม่มีใช้ และใช้ไฟแบบพอเพียง ใช้ระบบโซล่าคุ้มครับ
ตอบกลับ
1 0   
aircraftdesigner   
1 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:21 น.
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:41:18 pm »

http://pantip.com/topic/30667580
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:46:39 pm »

ความคิดเห็นที่ 3
แบตเตอรี่ทั้ง ๒๐ลูก จะเสียภายใน๑ปีครับ

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น

แผงโซล่า๑๒๑วัตติ์อนุกรมกัน๖แผง ถ้าแผงตั้งฉากกับดวงอาทิตย์จะผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 121*6 = ๗๒๖วัตติ์ต่อชั่วโมง

วันหนึ่งผลิตไฟฟ้าได้ไม่เกิน๕ชั่วโมง รวมพลังงานไม่เกิน ๓๖๒๐วัตติ์ต่อวัน

ประสิทธิภาพชาร์ดแบตเตอรี่ คงเหลือพลังงานที่เก็บได้จริงๆประมาณแค่ ๒๙๐๔วัตติ์

สามารถเปิดปั้มน้ำ ๑แรงม้าได้ประมาณแค่ ๓ชั่วโมงเท่านั้นเอง

หรือใช้กับตู้เย็นได้ประมาณ๓วัน

ส่วนแสงสว่างและไฟฟ้าอย่างอื่น ไฟจากแบตเตอรี่จะหมดเกลี้ยงทุกๆวันนะ

ถ้าวันไหนฝนตกไม่มีแดด ก็ไม่มีไฟใช้ ดังนั้นแบตเตอรี่จะเสียใน๑ปีครับ
ตอบกลับ
21 10   
aircraftdesigner   
21 เมษายน 2557 เวลา 07:42 น.
KitKet ถูกใจ, เลขไทย ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1037013 ถูกใจ, yamr ถูกใจ, YanwalyunTh ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1244977 ถูกใจ, Crestfall ถูกใจ, Ontjung ถูกใจ, Ao+ ถูกใจ, joeslp ทึ่ง
ความคิดเห็นที่ 3-1
โห .... อย่างนั้นหมายความว่า ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา

คือเป็นค่าแบต ฯ 20 ลูก ปีละถึง 6 - 70,000 บาท ทีเดียว

แล้วจะทำอย่างไรดี ?
ตอบกลับ
0 0   
Partita 
21 เมษายน 2557 เวลา 08:51 น.
ความคิดเห็นที่ 3-2
ผมแอบคำนวณ ก็หวั่นๆ ตามเหมือนกัน ว่าแผงโซล่าน้อยเกินไปที่จะชาร์จได้ตามปริมาณการใช้งาน

แต่มองอีกมุมหนึ่ง ที่นี้เป็นวัด ปริมาณการใช้จริงๆ อาจจะไม่มาก ทำให้อาจจะชาร์จได้เต็มก็ได้
ตอบกลับ
0 0   
avatayos   
21 เมษายน 2557 เวลา 09:04 น.
ความคิดเห็นที่ 3-3
ตัวแปรเรื่องอายุแบต ครับ หากลืมเช็คระดับน้ำกลั่น ตามเวลา อาจทำให้ อายุแบตไม่ถึงปีครับ
ตอบกลับ
0 0   
poekai2050 
21 เมษายน 2557 เวลา 22:02 น.
ความคิดเห็นที่ 3-4
แบตทั้งหมดมีความจุพลังงานประมาณ 10800 Wh
ชาร์จอย่างเดียวไม่ใช้เลยแค่ 4356 Wh
แบตต้องชาร์จเต็มก่อนติดตั้ง และหลังติดตั้งไม่ควรใช้พลังงานเกิน 3-4 kWh/วัน
ตอบกลับ
1 1   
Ontjung 
22 เมษายน 2557 เวลา 15:43 น.
YanwalyunTh ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 4
แบตไม่ได้เสีย 1ปีครับ
ในกรณีนี้ ไม่เกิน 6 เดือน เพราะที่สังเกตุจากchartไม่มี ตัว Solar charger
ลงทุนอีกนิดใส่charger ไม่เกิน 5,000 บาท. ก็จะช่วยยืดอายุได้ อาจยาวถึง 3 ปี
ตอบกลับ
0 2   
สมาชิกหมายเลข 766949 
21 เมษายน 2557 เวลา 08:56 น.
เลขไทย ถูกใจ, PandaNana ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 4-1
คอลโทรลชารจ์ดีในบางสถานะการณ์ แต่บางสถานที่ การใช้คอลโทรลชารจ์ (ทั้งจีน , เยอรมัน) กลับไปกั๊กกระแส ทำให้แอมป์ลงแบตน้อยไป

ถ้ามีโอกาส จขกท. จะนำวิธีชารจ์แบต ด้วยการถอดคอลโทรลชารจ์ออก แล้วใส่คอลโทรลโช้คแทน ที่ตามไปแก้งานมาให้หลายๆที่  กระแสแอมป์ไหลเข้าแบตดีกว่าเดิม

หลักทฤษฏี ในการต่อระบบโซล่าเซลล์ ใช้ได้ในบางสถานการณ์ แต่ในหน้างานใช้ไม่ได้

อนุโมทนา
ตอบกลับ
0 3   
wmt   
21 เมษายน 2557 เวลา 09:17 น.
ashfield ถูกใจ, PandaNana ถูกใจ, NamoNetty ถูกใจ


   http://pantip.com/topic/31941422

  กระทู้นี้เขาสร้าง โซล่าเซลให้กับวัดครับ  ลองอ่านดูครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:47:26 pm »

ความคิดเห็นที่ 5
ผมให้ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ วันละ 6 ชม.(ให้มากกว่าค่าเฉลี่ยด้วย) = 6h x (121Wx6ชุด)/1000 = 4.356 kWh

พลังงานไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่สูงสุดต่อวัน = 3A x 6h x 12V x 20ลูก/1000  = 4.32 kWh

พลังงานไไไฟ้าสูงสุดที่จะเก็บได้สำหรับ 12 V 45 Ah 20 ลูก =  12 x 45 x 20 / 1000 = 10.8 kWh

สรุปข้อแรก แบตเตอรี่ไม่มีวันที่จะเก็บประจุได้เต็มใน 1 วัน เพราะความสามารถเก้บได้ 10.8 kWh แต่ได้รับการชาร์จสูงสุดต่อวันเพียง 4.32 kWh

นั่นคือ แบตเตอรี่ไม่มีโอกาสชาร์จเต็มเลย แล้วยิ่งมีการใช้ไฟตลอดเวลายิ่งไม่มีโอกาสเต็ม

ที่ยังไม่ทราบคือ ประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์  "สมมติ" ให้มีประสิทธิภาพ 90 %

พลังงานไฟฟ้าที่โหลดสูงสุดต่อวัน = 4.32 x 0.9 = 3.89 kWh 

ได้พลังงานไฟฟ้าที่โหลดสูงสุดวันละประมาณ 4 kWh (ประมาณจาก3.89)

ถ้าใช้ไฟฟ้าจาก การไฟฟ้าฯ ไฟฟ้าเฉลี่ย ยูนิตละ 5 บาท(ที่จริงเฉลี่ยไม่น่าจะถึง 5 บาท) ก็จะประหยัดได้วันละ 5 x 4 = 20 บาท

ราคาแบตเตอรี่ 12 V 45 Ah ประมาณการว่า ลูกละ 1200 บาท เปลี่ยนทุก 30 เดือน(ทุกวันไม่เคยชาร์จเต็มจะอยู่ถึง 30 เดือนหรือเปล่าไม่รู้)
เป็นเงิน 20 x 1200 = 24000 บาท

จำนวนวันใน 30 เดือนเท่ากับ  = 913 วัน

ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ = 913 x 20 = 18260 บาท

ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ใน 30 เดือน ไม่พอจ่ายค่าแบตเตอรี่ที่ต้องซื้อใหม่ในอีก 30 เดือน 

แล้วเงินลงทุน 100000 บาท จะคุ้มทุนเมื่อไหร่

สถานที่ ๆ ควรติดตั้ง Solar Farm  คือ ที่ ๆ ไม่มีไฟฟ้าจาก กฟน. หรือ กฟภ. เท่านั้น

หรือเป็น Solar Farm ที่ผลิตโดยไม่เก็บพลังงานเข้าแบตเตอรี่ แต่แปลงเป็น AC แล้วขายเข้าระบบของการไฟฟ้า ฯ เลย ก็จะตัดต้นทุนแบตเตอรี่ออกไป 
แก้ไขข้อความเมื่อ 21 เมษายน 2557 เวลา 09:23 น.
ตอบกลับ
8 4   
เขียน ตลาดขวัญ 
21 เมษายน 2557 เวลา 09:10 น.
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:50:39 pm »

ความคิดเห็นที่ 5-1
ขอถามนิสนึงครับ แผ่น121w นี่ผลิตได้เต็ม121Wเลยหรอครับ

จากที่ผมทดลองแผ่นของเจ้าอื่นอยู่ 240W ทดสอบทั้งวัน ได้เต็มที่ไม่เกิน190w
190w นี้วัดได้ในช่วงเวลา ประมาณ11.00ถึง13.00 โดยประมาณ
พ้นช่วงเวลานี้ได้ไม่ถึง190w ด้วยซ้ำ
ตอบกลับ
0 1   
jakchampy 
21 เมษายน 2557 เวลา 09:18 น.
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:51:11 pm »

ความคิดเห็นที่ 8
เห็นด้วยตาม คห.7 ประเด็นคือ ไม่ใช่คุ้มไม่คุ้ม แต่ไฟฟ้ามันไปไม่ถึง ถึงจะเเพงมันก็ต้องใช้
เเละจากเคยไม่มี พอมีใช้ พระท่านคงไม่เปิดไฟพร้อมกัน 30 ดวงทิ้งไว้ทั้งคืนหรือเปิดปั๊มน้ำกันตลอดเวลามั้งครับ
ตอบกลับ
1 0   
arboriaz   
21 เมษายน 2557 เวลา 09:30 น.
ความคิดเห็นที่ 9
หากต้องติดตั้ง ณ ที่อื่นอีก ควรใช้แบตเตอรี่ขนาดเล็กกว่านี้เช่น 12V 27Ah สำหรับรถตุ๊ก ๆ  ราคาต้นทุนก็จะถูกลง
เพราะต่อให้เป็น 27Ah ซึ่งจำนวน 20 ลูกจะเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 6.48 kWh ก็ยังไม่เต็มใน 1 วันโดยไม่ใช้ไฟฟ้าเลย อยู่ดี

คำถาม...จากแผงโซล่าร์เซลไปชาร์จแบตเตอรี่ มีวงจรควบคุมกระแสหรือไม่

ถ้าไม่....เวลาตอนสาย ๆ ถึงบ่ายแผงโซล่าร์เซลจะทำงานหนักเพราะกระแสชาร์จ โอเวอร์โหลด ส่วนตัวแบตเตอรี่ไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องจากพิกัดกระแสของแผงโซล่าร์เซลแค่ 3 A แต่อายุโซลาร์เซลจะสั้นเพราะจ่ายกระแสสูงเกินเป้นเวลานาน ๆ โดยไม่มีการจำกัดกระแส
แก้ไขข้อความเมื่อ 21 เมษายน 2557 เวลา 10:16 น.
ตอบกลับ
0 1   
เขียน ตลาดขวัญ 
21 เมษายน 2557 เวลา 09:47 น.
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:52:31 pm »

ความคิดเห็นที่ 17
บทสรุปในเบื้องต้น

- มอเตอร์ปั๊มน้ำ 1 แรงม้า 3 สาย สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

- ตู้เย็นขนาด 5.5 คิว เปิดได้ตลอด 24 ช.ม.
- พัดลม ตั้งโต๊ะ เปิดได้ตลอดเวลา
- เครื่องขยายเสียง ใช้ได้ดี สามารถเร่งเสียงขึ้น-ลง ปกติ
- สว่าน และ หินเจียร์ ไม่เกิน 1 แรงม้า ใช้ได้ปกติ
กาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า ต้องใช้ขนาดต่ำกว่า 500 w.
- หลอดไฟนีออน 40 w. จำนวน 30 หลอด เปิด 12 ช.ม.ทั้งคืน ได้ 20 หลอด (ในขณะที่ตู้เย็นทำงาน)

ไม่ต้องสนใจเรื่องอื่นคิดที่พลังงานอย่างเดียว
121w x6 = 726 วัตต์ วันนึงให้เต็มที่4 ชม  ได้พลังงานไม่ถึง 3 หน่วย

ยังไม่ต้องคำนึงถึง Efficiency


แค่นี้ก้รู้แล้วว่า  Impossible พลังงานที่ใช้เกือบทั้งหมดมันมาจากแบตล้วน ๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ 21 เมษายน 2557 เวลา 13:34 น.
ตอบกลับ
2 0   
KratokeMan   
21 เมษายน 2557 เวลา 13:29 น.
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:53:07 pm »

ความคิดเห็นที่ 18
เท่าที่ผมเห็น หลังจากใช้ไปซักระยะ พอแบตพังพระท่านก็ไม่มีเงินซื้อ
ทิ้งแผ่นไว้เฉยๆ
ตอบกลับ
0 2   
prasong9   
21 เมษายน 2557 เวลา 13:31 น.
สมาชิกหมายเลข 990740 ถูกใจ, ช้อนเงิน ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 19
กี่ปีถึงจะคุ้มทุนครับ
ตอบกลับ
0 1   
Spirit of Darkness 
21 เมษายน 2557 เวลา 14:24 น.
ช้อนเงิน ถูกใจ
ความคิดเห็นที่ 19-1
ต้องเข้าใหม่นะครับ ระบบ โซล่าแบบนี้ ไม่มีทางคุ้มทุนหรอก ครับ เพราะต้นทุน ต่อหน่วย มันแพงกว่า ไฟหลวงครับ...
ลงทุนเริ่มต้น + ค่าเเบตที่เสื่อมสภาพ ต่อเนื่อง ยังไงก็ไม่คุ้ม
อาศัย คือ มีไฟใช้ ในที่ ที่ไฟเข้าไม่ถึงเท่านั้น...
แก้ไขข้อความเมื่อ 24 เมษายน 2557 เวลา 01:25 น.
ตอบกลับ
0 0   
==NokWeed== 
24 เมษายน 2557 เวลา 01:23 น.
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

newsone
Special Member
*
กระทู้: 3,405


อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: 26, มีนาคม 2015, 09:54:24 pm »

ความคิดเห็นที่ 24
ข้อมูลการคุ้มทุนโซล่าเซลล์แบบง่ายๆ ในระบบที่ไม่มีการอุดหนุนจากรัฐบาลข้อดีข้อเสีย
ระบบ off-grid
ข้อดี. ถึงไฟฟ้าจะดับ แต่บ้านเราพัดลมยังเปิดให้คลายร้อนได้
ข้อเสีย. ค่าบำรุง รักษาแบตเตอรี่สูงมาก ง่ายๆค่าแบตแพงกว่าค่าไฟฟ้า

ระบบ on-grid
ข้อดี.ไฟฟ้าที่เราผลิตได้ในเวลาที่เราไม่อยู่บ้านเราก็สามารถขายคืนการไฟฟ้าได้
ข้อเสีย .การไฟฟ้าไฟดับ บ้านเราก็ไฟดับเช่นกันถึงจะมีโซล่าเซลล์
  ระยะเวลาคืนทุน 15ปี ในราคาที่รัฐบาลไม่อุดหนุนค่าไฟ คืนทุน8 ปีถ้ากรณีขายไฟฟ้าคืนให้รัฐบาล
แต่เดียวก่อน inverter อายุการใช้งาน อยู่ที่ 5 ปี

คนทั่วไปบอกว่าใช้โซล่าเซลล์ดีนะช่วยลดโลกร้อน แต่ลืมคิดที่ว่ามลภาวะที่เกิดจากการกำจัดแบตเตอรี่ เยอะกว่าอีก
ตอบกลับ
6 9   
สมาชิกหมายเลข 766949 
22 เมษายน 2557 เวลา 08:49 น.
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 3 ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  
 
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.7 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.03 วินาที กับ 19 คำสั่ง