ชื่อ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20, เมษายน 2024, 07:46:56 am
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: :: Thontกล่องแอนดรอย livetv55 star4k hd2live iptvso เซิรฟskynet/500 ::

dvb

+  บอร์ดโบราณ ดาวเทียม - HD player - CCTV
|-+  อุปกรณ์เครื่องรับดาวเทียมทีวีดิจิตอล
| |-+  ถามตอบปัญหาดาวเทียมและทีวีดิจิตอล
| | |-+  ขอความรู้การต่อ led เล็กๆ ทำไมต้องใช้ R ช่วย ต่อตรงไม่ได้หรือ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความรู้การต่อ led เล็กๆ ทำไมต้องใช้ R ช่วย ต่อตรงไม่ได้หรือ  (อ่าน 2160 ครั้ง)
dacha23
Support Member
*
กระทู้: 1,173



อีเมล์
« เมื่อ: 05, เมษายน 2021, 06:02:05 am »

ขอความรู้การต่อ led เล็กๆ ทำไมต้องใช้ R ช่วย ต่อตรงไม่ได้หรือ เพราะอะไร มีวิธีง่ายๆไหม
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ohmza
Hero Member
*****
กระทู้: 1,486


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05, เมษายน 2021, 06:42:21 am »

ไม่ได้ครับ R ตัวนั้นมีหน้าที่ limit กระแสไฟไม่ให้ไหลเข้าตัวหลอด LED มากเกินไป ถ้าไม่มีกระแสไฟก็จะไหลเข้า LED มากเกินไป ทำให้ระเบิดครับ และค่า R ต้องคำนวณจากเสปคของหลอด LED ว่า Turn On Voltage ของหลอด LED อยู่ที่เท่าไหร่ และหลอด LED รับกระแสไฟสูงสุดได้เท่าไหร่ ถ้า R ใหญ่ไปทำให้ Voltage drop บน R เยอะและต่ำกว่า Turn On Voltage ก็จะทำให้หลอดไม่ติด ถ้า R เล็กไปจะทำให้ Voltage drop บน R น้อย ส่งผลให้กระแสไฟไหลเข้า LED มากเกินไปทำให้หลอด LED เกิดความเสียหายได้ครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ohmza
Hero Member
*****
กระทู้: 1,486


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 05, เมษายน 2021, 06:53:59 am »

วิธีการคำนวณให้ท่านวัดไฟจุดที่จะต่อ LED ว่ากี่โวลต์ จากนั้นให้นำค่านั้นตั้งแล้วลบด้วย Turn On Voltage ของ LED แล้วนำไปหารด้วยค่ากระแสไฟ(Current)ที่ LED ทนได้สูงสุด ยกตัวอย่างเช่น ได้ค่าออกมาที่ 327 โอห์ม ให้เลือกให้ค่า R ที่ 330 โอห์ม ห้ามเลือกค่า R ต่ำจากที่คำนวณ สูงกว่าได้ แต่ถ้าสูงเกินหลอดก็จะไม่ติด หรือติดแต่ว่าไม่สว่าง ตอนคำนวณควรแปลงค่ากระแสไฟให้เป็น A และค่าความต่างศักย์ให้เป็น V ก่อน
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
dacha23
Support Member
*
กระทู้: 1,173



อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 05, เมษายน 2021, 07:20:50 am »

ขอบคุณครับได้ความรู้แยะเลย รบกวนอีกนิดครับ หลอดตามภาพแบบนี้น่าจะใช้ R ค่าสักเท่าไร


แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ohmza
Hero Member
*****
กระทู้: 1,486


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 05, เมษายน 2021, 07:46:45 am »

หา datasheet ของหลอดมา ถ้าหาไม่ได้บอกค่า V ของจุดที่จะต่อมาอย่างเดียวก็พอ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
Nim
Hero Member
*****
กระทู้: 1,101



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 05, เมษายน 2021, 08:04:53 am »

   หลอด LED มีหลายแบบ ที่ใช้ทั่วๆ.ช้กันบ่อยมีแบบใช้ไฟ 3Vและ 6V วิธีคำนวณตามลิ้งค์เลย
   https://ohmslawcalculator.com/led-resistor-calculator
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
boy850
Full Member
***
กระทู้: 157


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 07, เมษายน 2021, 04:47:09 pm »

สอบถามครับ คือต้องการให้หลอดLED 2ชุดนี้ ให้สว่างเพิ่มขึ้นอีกนิดนึง ซัก 5-10% ต้องลดค่าR ทั้ง2ชุดนี้ ควรใช้ค่าเท่าไหร่ครับ R1ค่า 2002  R2 ค่า 1001

แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
tv59
Hero Member
*****
กระทู้: 1,790



อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 07, เมษายน 2021, 05:32:24 pm »

ไม่ใช่เปลี่ยนค่า R แต่ไปเพิ่มกระแส ปกติสั่งเป็นคำสั่ง เหมือนพวกคีย์บอร์ดแสง พอนึกออกมัยครับ


***ว่าแต่ R เป็นตัวต้านทาน ทำให้ V ลด ไม่ใช่เหรอครับ พอดีจบมานาน จำไม่ค่อยได้ และไม่ได้ใช้ความรู้ตางนี้ด้วย เลย งง ๆ 555
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ohmza
Hero Member
*****
กระทู้: 1,486


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 08, เมษายน 2021, 01:05:24 am »

R จะลดทั้ง V และ I ครับ เพื่อให้ทั้ง V และ I ตรงตามเสปคที่หลอด LED ทนได้ ท่านลองเขียนสมการ KVL ของวงจรอนุกรมของหลอด LED ดูท่านจะได้ V_s - IR - V_LED = 0 ซึ่ง V_LED ก็คือ Turn On Voltage ของหลอด LED ว่าต้องไม่ต่ำกว่าเท่านี้หลอดถึงจะติด ส่วนค่า I ถูกบังคับไปในตัวว่าต้องไม่เกินค่าที่หลอด LED ทนได้สูงสุดเพราะวงจรมันเป็นอนุกรม สุดท้าย V_s คือ V จากแหล่งจ่ายไฟนั่นเอง

จากสมการด้านบนถ้าค่า R เป็น 0 คือไม่มี R เราก็จะได้ V_s = V_LED ลองคิดดูถ้า V_s มีค่าเท่ากับ 12V แล้ว V_LED ทนได้สูงสุด 3.3 V มันจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งนั่นก็คือ V_s กับ I_s จะไฟลเข้าตรงๆไปหาหลอด LED เลย ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับ V_s ที่มีค่า 12 V ย่อมมีค่า I_s เกินกว่าที่หลอด LED ทนได้สูงสุดอยู่แล้ว

ป.ล. I_s คือกระแสไฟที่แหล่งจ่ายไฟจ่ายได้สูงสุดครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
su_rong
Special Member
*
กระทู้: 789


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: 08, เมษายน 2021, 07:10:53 am »

ขอบคุณครับได้ความรู้แยะเลย รบกวนอีกนิดครับ หลอดตามภาพแบบนี้น่าจะใช้ R ค่าสักเท่าไร




ต้องดูว่าไฟเข้ากี่โวลท์ และจากรูปร่างของ LED ตัวนี้กระแสไม่น่าเกิน 20mA ไฟตกคร่อม ประมาณ 1.8-2.0V น่าจะใช้ 1k-1.5k 1/4 w
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
boy850
Full Member
***
กระทู้: 157


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: 10, เมษายน 2021, 02:00:12 pm »

R จะลดทั้ง V และ I ครับ เพื่อให้ทั้ง V และ I ตรงตามเสปคที่หลอด LED ทนได้ ท่านลองเขียนสมการ KVL ของวงจรอนุกรมของหลอด LED ดูท่านจะได้ V_s - IR - V_LED = 0 ซึ่ง V_LED ก็คือ Turn On Voltage ของหลอด LED ว่าต้องไม่ต่ำกว่าเท่านี้หลอดถึงจะติด ส่วนค่า I ถูกบังคับไปในตัวว่าต้องไม่เกินค่าที่หลอด LED ทนได้สูงสุดเพราะวงจรมันเป็นอนุกรม สุดท้าย V_s คือ V จากแหล่งจ่ายไฟนั่นเอง

จากสมการด้านบนถ้าค่า R เป็น 0 คือไม่มี R เราก็จะได้ V_s = V_LED ลองคิดดูถ้า V_s มีค่าเท่ากับ 12V แล้ว V_LED ทนได้สูงสุด 3.3 V มันจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งนั่นก็คือ V_s กับ I_s จะไฟลเข้าตรงๆไปหาหลอด LED เลย ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับ V_s ที่มีค่า 12 V ย่อมมีค่า I_s เกินกว่าที่หลอด LED ทนได้สูงสุดอยู่แล้ว

ป.ล. I_s คือกระแสไฟที่แหล่งจ่ายไฟจ่ายได้สูงสุดครับ

ชุดนี้ลดค่าR ใช้ค่าเท่าไหร่ครับ ไฟเข้า12V คือต้องการให้หลอดLED 2ชุดนี้ ให้สว่างเพิ่มขึ้นอีกนิดนึง ซัก 5-10% ต้องลดค่าR ทั้ง2ชุดนี้ ควรใช้ค่าเท่าไหร่ครับ R1ค่า 2002  R2 ค่า 1001


แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
Nim
Hero Member
*****
กระทู้: 1,101



อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: 11, เมษายน 2021, 08:18:01 am »

R จะลดทั้ง V และ I ครับ เพื่อให้ทั้ง V และ I ตรงตามเสปคที่หลอด LED ทนได้ ท่านลองเขียนสมการ KVL ของวงจรอนุกรมของหลอด LED ดูท่านจะได้ V_s - IR - V_LED = 0 ซึ่ง V_LED ก็คือ Turn On Voltage ของหลอด LED ว่าต้องไม่ต่ำกว่าเท่านี้หลอดถึงจะติด ส่วนค่า I ถูกบังคับไปในตัวว่าต้องไม่เกินค่าที่หลอด LED ทนได้สูงสุดเพราะวงจรมันเป็นอนุกรม สุดท้าย V_s คือ V จากแหล่งจ่ายไฟนั่นเอง

จากสมการด้านบนถ้าค่า R เป็น 0 คือไม่มี R เราก็จะได้ V_s = V_LED ลองคิดดูถ้า V_s มีค่าเท่ากับ 12V แล้ว V_LED ทนได้สูงสุด 3.3 V มันจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งนั่นก็คือ V_s กับ I_s จะไฟลเข้าตรงๆไปหาหลอด LED เลย ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับ V_s ที่มีค่า 12 V ย่อมมีค่า I_s เกินกว่าที่หลอด LED ทนได้สูงสุดอยู่แล้ว

ป.ล. I_s คือกระแสไฟที่แหล่งจ่ายไฟจ่ายได้สูงสุดครับ






ชุดนี้ลดค่าR ใช้ค่าเท่าไหร่ครับ ไฟเข้า12V คือต้องการให้หลอดLED 2ชุดนี้ ให้สว่างเพิ่มขึ้นอีกนิดนึง ซัก 5-10% ต้องลดค่าR ทั้ง2ชุดนี้ ควรใช้ค่าเท่าไหร่ครับ R1ค่า 2002  R2 ค่า 1001



วัดแรงดันตกคร่อมในวงจรครับ ตย. ชุด 2 หลอด  แรงดันตกคร่อมหลอดแต่แต่หลอดและตกคร่อม R 2002 (20K)
    กรแสที่ไหลผ่านหลอด      Ib = แรงดันตกคร่อม R2002 / 20K =      mA.
    จะเพิ่มกระแสกี่ % ของกระแสไหลผ่านหลอด ก็คำนวณเอาครับ 10%ของ  Ib=???

    เมื่อได้ค่าคำนวณได้แล้ว มาหาค่า R ใหม่ R = แรงดันตกคร่อมหลอด LED ที่วัดไว้ หารค่ากระแสที่คำนวณได้  V/mA. ค่า R ที่ได้จะเป็นหนวย Kohms. ครับ  เสร็จแล้วลองดูว่าสว่างพอไหม
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
boy850
Full Member
***
กระทู้: 157


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: 11, เมษายน 2021, 09:08:14 pm »

จะลองทำดู ขอบคุณครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  
 
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.7 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.03 วินาที กับ 20 คำสั่ง