ชื่อ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26, เมษายน 2024, 11:59:08 pm
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: :: ต้องการประชาสัมพันธ์สินค้าติดต่อ boransat@gmail.com ::

dvb

+  บอร์ดโบราณ ดาวเทียม - HD player - CCTV
|-+  อุปกรณ์เครื่องรับดาวเทียมทีวีดิจิตอล
| |-+  ถามตอบปัญหาดาวเทียมและทีวีดิจิตอล
| | |-+  ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band  (อ่าน 4072 ครั้ง)
ohmza
Hero Member
*****
กระทู้: 1,486


อีเมล์
« เมื่อ: 31, พฤษภาคม 2021, 12:18:32 pm »

สอบถามครับว่าจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. หากนำมาใส่หัว C-Band ทั้งคู่จานไหนจะรับสัญญาณได้ดีกว่ากันครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
yyy
Hero Member
*****
กระทู้: 1,737



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 31, พฤษภาคม 2021, 01:54:33 pm »

เดาว่า ถ้า C band น่าจะจานตะแกรงครับ เคยใช้จานทีบ 6 ฟุต รับช่องไทย จาก PALAPA แพ้ 7.5 ของสามารถครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

srw
Special Member
*
กระทู้: 4,520



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 31, พฤษภาคม 2021, 08:40:26 pm »

มันก็รับใกล้เคียงกัน สัญญารไม่ต่างกัน ขึ้นอยู่ที่ปรับหน้าจานมากกว่าครับ  ต่างกันที่จานทึบ มันต้านลมได้ดีกว่าจานตะเกรง  ถ้าต้องการรับลมได้ดีกว่าก็เลือกจานทึบครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

phot9724
Special Member
*
กระทู้: 2,700



อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 02:06:37 am »

-ถ้าขนาดของหน้าจานมีขนาดเท่ากัน จานทึบจะรับสัญญาณได้ดีกว่าครับ แต่ก็ต้องยอมรับความหนัก และแรงต้านทานลมที่มากกว่า ต้องตั้งฐานเสาให้แข็งแรง มากกว่าจานตระแกรง
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

tv59
Hero Member
*****
กระทู้: 1,790



อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 07:19:37 am »

คำว่าดีกว่าคืออะไร ?

เอาค่าไหนเป็นหลัก ค่า POWER CN MER LM BER
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ohmza
Hero Member
*****
กระทู้: 1,486


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 10:28:06 am »

คำว่าดีกว่าคืออะไร ?

เอาค่าไหนเป็นหลัก ค่า POWER CN MER LM BER
ถ้าหากท่านสะดวกรบกวนทดลองมาให้ดูหน่อยครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
tv59
Hero Member
*****
กระทู้: 1,790



อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 10:39:16 am »

เท่าที่เคยทำมา จานใหญ่ขึ้น ค่า POWER แทบจะเท่าเดิม แทบไม่ต่างกัน

จะให้ค่า POWER มากขึ้น ต้องหัว LNB ที่มี Gain สูงๆมาใส่จะได้ค่า POWER เพิ่มขึ้นครับ

ส่วนค่า MER จานใหญ่จะได้มากขึ้นครับ

ส่วนค่า BER  ขึ้นอยู่กับ LNB ครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

tv59
Hero Member
*****
กระทู้: 1,790



อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 10:50:31 am »



ตัวอย่างค่าต่างๆ จากจานเดียวกัน แต่หัวคนละเบอร์ ยี้ห้อเดียวกัน และเบอร์ใหญ่ด้วยกันทั้ง 3 หัว

*** คำว่าหัวเบอร์ใหญ่คือหัวที่ หัวละ 600 บาท 

(หัวเล็กคือหัวที่ ร้อยกว่าสองร้อยบาท)

หัวกลาง ราคา300-400 บาท

ประ สรุปจานใหญ่จะรับสัญญาณได้แข็งแรงกว่าครับ (ค่า MER สูงกว่า) จากประสบการณ์ที่ทำมา ประมาณนี้ครับ

แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

tv59
Hero Member
*****
กระทู้: 1,790



อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 11:04:28 am »

*** พูดตกไปนิดหนึ่ง จานที่ขนาดต่างกันไม่มาก เช่น 120-150 จะได้ผลตามที่แจ้งไปครับ

หรือ KU 75 กับ 120 ก็เช่นกัน

แต่ถ้าขนาดต่างกันมากๆผลจะอีกเรื่องครับ เช่น 5 ฟุต กับ 10 ฟุต ค่าต่างๆจะต่างกันมากครรับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ohmza
Hero Member
*****
กระทู้: 1,486


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 02:59:03 pm »

แสดงว่าจานทึบซึ่งมีพื้นผิวที่สามารถสะท้อนสัญญาณได้มากกว่าไม่ได้มีผลอะไรกับค่า MER ถูกมั้ยครับ ขนาดจานเท่านั้นที่มีผล
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
tv59
Hero Member
*****
กระทู้: 1,790



อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 03:51:51 pm »

เท่าที่ทดสอบมา เป็นเช่นนั้นครับ

*** ความถี่ของ C BAND หรือแลมด้าของ C BAND แค่จานตาค่ายก็พอแล้วคับ

*** ข้อมูลผมอาจผิดก็ได้ครับ ยังไม่ต้องเชื่อก็ได้ครับ ผมแค่มาเล่าประสบการณ์ของผมให้ฟังเฉยๆครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

WWWHS7ETD
Hero Member
*****
กระทู้: 999



อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 08:32:42 pm »

จานทึบเป็นจานมาตรฐาน สะท้อนสัญญาณได้ดี ตามสถานีจึงใช้ รับ ส่ง สัญญาณ จานใหญ่รับสัญญาณได้แรงดีจริงๆเคยลองเอา LNB ที่เราใช้ไปวางใกล้เครื่องรับก็รับได้แล้ว(ใช้ที่สถานีใช้ จานขนาด 6 เมตร ส่วนรถโมบายใช้ 1.5 เมตร)
จะเห็นได้จากจาน Ku Band PSI ตะแกรง(สมัยก่อนจะรับได้ไม่ดี ใครเคยใช้บ้าง)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
Nim
Hero Member
*****
กระทู้: 1,101



อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: 02, มิถุนายน 2021, 07:47:22 am »

 จานทึบ 120cm. คงไม่ได้หมายถึงจานออฟเซท น่ะ คงเป็นจานแบบหัวฟีดอยู่กลาง Prime focus ถ้าอย่างหลังนี่มีอะไรก็ใช้ไปครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
dacho
Special Member
*
กระทู้: 265



อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: 02, มิถุนายน 2021, 10:13:42 pm »

จานขนาดใหญ่จะรับสัญญาณได้ดีกว่าจานขนาดเล็กอยู่แล้ว

จำได้ว่าหลายปีมาแล้วเคยมีการผลืต จานแบบทึบออกมาขายเพื่อรับรายการระบบ ซี แบนด์

คุ้นๆว่าเป็นจานสีฟ้าหรือสีขาว อันนี้ไม่แน่ใจ แต่ ไม่มีข้อมูลว่า รับสัญญาณได้ดีกว่า จานแบบตะแกรงหรือไม่
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

yyy
Hero Member
*****
กระทู้: 1,737



อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: 03, มิถุนายน 2021, 01:34:33 pm »

จานขนาดใหญ่จะรับสัญญาณได้ดีกว่าจานขนาดเล็กอยู่แล้ว

จำได้ว่าหลายปีมาแล้วเคยมีการผลืต จานแบบทึบออกมาขายเพื่อรับรายการระบบ ซี แบนด์

คุ้นๆว่าเป็นจานสีฟ้าหรือสีขาว อันนี้ไม่แน่ใจ แต่ ไม่มีข้อมูลว่า รับสัญญาณได้ดีกว่า จานแบบตะแกรงหรือไม่

ไม่ทราบว่าเคยเห็นจานทีบ 6 ฟุต กับเครื่องรับ Topsat มั้ย มันใช้รับ Asiasat 1 ดูสตาร์ทีวีฟรี  ผมหมุนไปดูช่อง 7 ที่  Palapa  ไม่ต่างกับสามารถโปร่ง 6 ฟุตเท่าไหร่ครับ สมัยอนาล็อก สัญญาณจะมี 3 ระดับ ทั้งสองจานได้ระดับ 2 มีสโนว์บ้างเหมือนๆกัน
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

dacho
Special Member
*
กระทู้: 265



อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: 04, มิถุนายน 2021, 07:59:10 am »

จานรุ่นนั้นไม่เคยใช้ครับ ส่วนจานทึบที่ผมบอกมาไม่นานขนาดนั้นครับ แต่ผมจำไม่ได้ว่าเป็นของยี่ห้ออะไร

จริงๆแล้วในการใช้รับสัญญาณดาวเทียม ขนาดจานที่เท่ากันการรับสัญญาณ จานทึบ จานตะแกรง ก็ไม่ต่างกัน

ส่วนว่า จะใช้จานแบบไหน ขนาดเท่าไร จะขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

tv59
Hero Member
*****
กระทู้: 1,790



อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: 05, มิถุนายน 2021, 03:13:38 pm »

เอาหลักฐานมาให้ดู ดูกันให้ชัดๆ ว่าแรงหรือไม่แรง จะดูค่าไหนก็ดูเอานะครับ









แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

dacho
Special Member
*
กระทู้: 265



อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: 06, มิถุนายน 2021, 11:27:02 am »

เป็นข้อมูลที่ดี ไม่แน่ใจว่าจานทึบที่ใช้ทดสอบเป็นจานขนาดเท่าไร
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

tv59
Hero Member
*****
กระทู้: 1,790



อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: 06, มิถุนายน 2021, 11:45:58 am »

ไม่แนะใจ ทำไม่ได้แล้วปรระมาณ 140-150 cmครับ

แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

phot9724
Special Member
*
กระทู้: 2,700



อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: 07, มิถุนายน 2021, 08:26:55 pm »

จานอะลูมิเนียม จานไฟเบอร์กลาส และจานแบบตาข่าย

ไม่ว่าจะเป็นจานรับสัญญาณแบบใด ๆ ก็จะมีหลักการเดียวกันคือ รับสัญญาณจากดาวเทียมลงมาแล้วสะท้อนกลับขึ้นไปยังจุดเดียวกันซึ่งเรียกว่าจุดโฟคัล (Focal Point) สัญญาณที่มีกำลังอ่อน ๆ เมื่อพุ่งลงมากระทบพื้นที่ของจาน แล้วสะท้อนไปรวมยังจุดเดียวกัน จะมีผลทำให้สัญญาณแรงขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะผลิตมาจากอะลูมิเนียม ไฟเบอร์กลาส หรือแบบตาข่ายก็ตาม สิ่งแรกที่จะต้องสนใจก็คือ ต้องมีส่วนโค้งที่ถูกต้องและมีลักษณะเป็นพาลาโบลิกเท่านั้น ก็สามารถรับสัญญาณได้แล้ว วิธีการผลิตก็คงต้องขึ้นอยู่กับโรงงานว่าจะใช้วิธีการแบบใด

สำหรับจานอะลูมิเนียมแบบทึบนั้น จะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าจานแบบไฟเบอร์กลาส หรือแบบตาข่าย จานอลูมิเนียมแบบทึบมักจะเคลือบด้วยสีที่มีคุณภาพไม่สะท้อนแสงเพราะหากสะท้อนแสงแล้วจะทำให้เกิดการรวมแสงเช่นเดียวกับคลื่นผลที่ตามมาก็คือ อุปกรณ์ LNB อาจจะพังหรือเสียหายก่อนเวลาที่ควรจะเป็นก็ได้ ส่วนเนื้ออะลูมิเนียมมักจะทำจากอะลูมิเนียมเกรดดีสามารถป้องกันการผุกร่อนจากสนิมออกไซด์ของอะลูมิเนียมได้ดี

ส่วนจานรับสัญญาณแบบตาข่าย ขณะนี้จะนิยมมากที่สุดเพราะไม่ทำให้เสียทัศนียภาพข้างหลังได้ แต่จานแบบตาข่ายนี้ค่อนข้างจะเกิดการเสียหายหรือผิดรูปได้ง่าย เนื่องจากเป็นโลหะที่มีรูพรุนจึงบอบบาง ดังนั้นการติดตั้งใช้งานแต่ละส่วนจึงควรจะเป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิต ที่เน้นมากก็คือ ความเป็นส่วนโค้งพาราโบลิกของเนื้อจานจะต้องโค้งได้รูปตลอดเวลา วิธีเช็คง่าย ๆ โดยการใช้มือลูบที่ผิวของจานก็สามารถรู้ได้ว่า โค้งตลอดทั้งแผ่นหรือไม่ หากผิวของส่วนโค้งของแต่ละแผ่นไม่เป็นไปตามพาราโบลิกแล้ว จะทำให้คลื่นที่มาตกกระทบบางส่วนไม่พุ่งไปรวมที่จุดโพคัล สัญญาณก็จะมีความแรงลดลง

สำหรับจานแบบไฟเบอร์ ลักษณะทางโครงสร้างก็เหมือนกับจานทึบ และใช้กันค่อนข้างมาก จานแบบไฟเบอร์ที่เป็นมาตรฐานนั้น ภายในโครงสร้างของมันจะมีการฝังลวดตาข่ายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นตัวสะท้อนสัญญาณจากดาวเทียม เพราะหากไม่มีลวดตาข่ายถักฝังเอาไว้ภายใน สัญญาณจะทะลุจานออกไปหมด ลักษณะของการผลิตจะใช้วิธีพ่นไฟเบอร์กลาสลงมาบนโมล แล้ววางลวดตาข่ายที่ทอหรือถักลงไป จากนั้นจึงฉีดไฟเบอร์กลาสทับลงไปอีกครั้งหนึ่ง

การจัดสร้างจานขึ้นมานั้น อาจจะทำเป็นชิ้นเดียวหรือหลาย ๆ ชิ้น แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกันก็ได้ แต่ความแน่นอนในเรื่องของประสิทธิภาพการสะท้อนของสัญญาณแล้วจานแบบชิ้นเดียวจะดีกว่า ส่วนจานที่แบ่งออกเป็นเสี้ยวแล้วมาประกอบกันจะมีข้อเสียตรงส่วนนี้แต่จะมีความแข็งแรงกว่าเพราะช่วงรอยต่อที่นำมาประกบกันจะกลายเป็นกระดูก หรือเป็นส่วนที่เสริมความแข็งแรงให้กับจาน อีกทั้งยังสะดวกต่อการขนส่ง และถอดเปลี่ยนได้ง่าย ในกรณีที่ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเสียหาย ส่วนเรื่องของรอยต่อแต่ละชิ้นที่เป็นปัญหาในการสะท้อนของคลื่นนั้นถือว่ามีน้อยมาก(ขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นของจานด้วย) เมื่อเทียบกับพื้นที่ของจานทั้งหมด
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  
 
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.7 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.026 วินาที กับ 19 คำสั่ง