ชื่อ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
21, พฤษภาคม 2024, 12:52:53 pm
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: :: Thontกล่องแอนดรอย livetv55 star4k hd2live iptvso เซิรฟskynet/500 ::

dvb

+  บอร์ดโบราณ ดาวเทียม - HD player - CCTV
|-+  อุปกรณ์เครื่องรับดาวเทียมทีวีดิจิตอล
| |-+  ถามตอบปัญหาดาวเทียมและทีวีดิจิตอล
| | |-+  เปิดK+ที่ร้านข้ามต้มโต้รุ่ง ผิดไหมครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดK+ที่ร้านข้ามต้มโต้รุ่ง ผิดไหมครับ  (อ่าน 4258 ครั้ง)
thaidream2
Special Member
*
กระทู้: 257


อีเมล์
« เมื่อ: 20, สิงหาคม 2013, 08:01:41 pm »

เปิดK+ที่ร้านข้าวต้มโต้รุ่ง ผิดไหมครับ พอดีได้กล่องHD ของK+HD มา1กล่อง ต่อรายปีไปแล้ว กลางวันไม่ได้ดูเลย(จริงไม่เกี่ยว) เลยเอามาต่อดูที่ร้านดูเองด้วยแต่ดันจอมันใหญ่เลยเจอลูกค้าแอบดู ผมจะผิดหรือเปล่าครับ อยากรู้ครับ ดูจากของแท้ๆแต่ข้างๆบ้านครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
chinnozukae
Hero Member
*****
กระทู้: 1,453


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20, สิงหาคม 2013, 08:17:06 pm »

ดูในบ้านไม่ผิด(เพราะมันไม่รู้) แต่ดูจอใหญ่แถวเปิดที่ร้านผิดเพราะถือว่าเป็นการเผยแพร่ แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ต้องเปิดข้อกฏหมายและปรึกษาทนายความดูครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

thaidream2
Special Member
*
กระทู้: 257


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20, สิงหาคม 2013, 09:03:36 pm »

ดูในบ้านไม่ผิด(เพราะมันไม่รู้) แต่ดูจอใหญ่แถวเปิดที่ร้านผิดเพราะถือว่าเป็นการเผยแพร่ แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ต้องเปิดข้อกฏหมายและปรึกษาทนายความดูครับ
งั้นสงสัยผิด รอกูรู อีกท่าน
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ozzypet
Newbie
*
กระทู้: 99


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20, สิงหาคม 2013, 09:15:20 pm »

ผมว่าถ้าเป็นกล่องแท้ การ์ดแท้ ตามที่ท่านบอกมา แต่เอามาเปิดที่ร้านข้าวต้ม ลักษณะเป็นการเผยแพร่ อันนี้น่าจะผิดข้อสัญญาในการใช้ ส่วนใหญ่ลักษณะแบบนี้จะต้องใช้ภายในบ้าน แต่ถ้าไม่มีผู้เสียหายมาแจ้งจับ ก็ทำไปได้ ผมว่าผู้เสียหายอยู่ต่างประเทศ คงไม่มาตามจับถึงเมืองไทย ยกเว้นจะมีผู้รับมอบอำนาจมาแจ้งจับ ผมว่ายากครับ ค่าใช้จ่ายสูง ขนาดซื้อการ์ดยังต้องสั่งซื้อจากเวีบดนามเลย เมืองไทยไม่น่าจะมี
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
thaidream2
Special Member
*
กระทู้: 257


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 20, สิงหาคม 2013, 10:19:28 pm »

ผมว่าถ้าเป็นกล่องแท้ การ์ดแท้ ตามที่ท่านบอกมา แต่เอามาเปิดที่ร้านข้าวต้ม ลักษณะเป็นการเผยแพร่ อันนี้น่าจะผิดข้อสัญญาในการใช้ ส่วนใหญ่ลักษณะแบบนี้จะต้องใช้ภายในบ้าน แต่ถ้าไม่มีผู้เสียหายมาแจ้งจับ ก็ทำไปได้ ผมว่าผู้เสียหายอยู่ต่างประเทศ คงไม่มาตามจับถึงเมืองไทย ยกเว้นจะมีผู้รับมอบอำนาจมาแจ้งจับ ผมว่ายากครับ ค่าใช้จ่ายสูง ขนาดซื้อการ์ดยังต้องสั่งซื้อจากเวีบดนามเลย เมืองไทยไม่น่าจะมี

คงต้องรับชะตากรรม กะว่าจะตะแบงซะหน่อย กำๆๆๆๆๆ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
Batistuta
Newbie
*
กระทู้: 4


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 20, สิงหาคม 2013, 10:50:31 pm »

ผิดครับถ้าสิ่งที่เปิดละเมิดเจ้าของลิขสิทธิ์ของประเทศนั้น กรณีลิขสิทธ์ของประเทศนั้นๆ ลิขสิทธิ์เดียวกัน
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
dekdee2516
Newbie
*
กระทู้: 69


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 08:39:38 am »

มันผิดกฎหมายลิขลิทธิ์ ตรงโลโก้บนจอครับ
ผู้เสียหายอยู่ต่างประเทศ คงไม่แต่งตั้งตัวแทนมาฟ้องครับ ไม่คุ้ม
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
superpoo
Hero Member
*****
กระทู้: 632


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 09:37:00 am »

ความผิดต่อ K+ มีแน่ เพราะเค้าห้ามเอามาเผยแพร่  แต่เจ้ามืออยู่ไกลคงไม่มาตามจับ


ความผิดต่อ CTH นี่คงต้องตีความกฏหมายกันเยอะ  รายละเอียดคงมาก  ในบอร์ดนี้ถ้าใครเป็นทนายช่วยแนะนำหน่อย  comment ต่างๆน่าจะเกิดจากความตีความด้วยความรู้สึกกันเองทั้งนั้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะถูกหรือผิด  หาก CTH ฟ้องร้องขึ้นมา  เรื่องราวขึ้นโรงขึ้นศาล เราเสียทั้งเงินทองเสียทั้งเวลาถึงแม้ว่าสุดท้ายศาลจะสั่งให้เราชนะก็ตามดังนั้นได้ไม่คุ้มเสียแน่นอนครับ  หรือ ถ้านอกระบบพวกเจ้าหน้าที่เห็นอาจเข้ามาขู่ขอเรียกเงิน เราก็เสี่ยอีก  สรุป อย่าไปฝืนเลยครับเด๋วซวย
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
tanin
Special Member
*
กระทู้: 460


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 10:12:53 am »

มันผิดกฎหมายลิขลิทธิ์ ตรงโลโก้บนจอครับ
ผู้เสียหายอยู่ต่างประเทศ คงไม่แต่งตั้งตัวแทนมาฟ้องครับ ไม่คุ้ม

ถ้าเราขยายภาพ หรือzoomภาพให้โลโก้มันหาย ก็หน้าจะได้ ถ้าออกสู่สาธารณะ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
JO-CM
Full Member
***
กระทู้: 218


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 12:49:00 pm »

ซื้อกล่องแท้ K+ มาเปิดครับไม่ผิดแน่นอนครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
click
Special Member
*
กระทู้: 3,733



อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 01:19:04 pm »

กฏหมายไทย....เป็นระบบกล่าวหา โดยเฉพาะกับเจ้าหน้าที่รัฐของไทย เหนื่อยครับ แม้สุดท้ายท่านชนะ แต่เสียทุกอย่างได้แต่ความสะใจ เห็นไหมคนบางพวกเขาจึงลุกมาสู้.......
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

jacky1
Special Member
*
กระทู้: 61


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 01:40:40 pm »

ของผมเิปิด K+ ใช้ในหอพักของผมมา3 ปีแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นข้างต้มโต้รุ่งนี่ผมไม่แน่ใจครับ เพราะมีคนภายนอกเข้ามาตลอด
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
thasila
Special Member
*
กระทู้: 336


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 03:01:06 pm »

กล่องแท้เอามาเปิดก็ผิดครับ เพราะเป็นการใช้งานผิดประเภท
แถมบ้านเราเจ้าที่แรงครับ แนะนำอย่าดีกว่า ได้ไม่คุ้มเสีย..
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
budsop
Special Member
*
กระทู้: 484


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 03:15:48 pm »



superpoo ---- พูดได้ดีครับ ตามนั้นครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ozzypet
Newbie
*
กระทู้: 99


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 05:36:13 pm »

กรณีแบบนี้เคยมีคำพิพากษาฎีกาไว้ เรื่องนี้เกิดที่แม่กลอง เจ้าของเคเบิลท้องถิ่นได้ไปทำสัญญาซื้อรายการ espn starspot จากเคเบิล astro โดยมีสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วนำมาใส่ในเคเบิลของเขา เราจะสังเกตุว่าเคเบิลแอสโตรจะมีที่ตรงมุมจอด้านบน คู่กับช่อง espn star นั่นแสดงว่านำมาจากมาเลย์ ปรากฏว่า ubc ในสมัยนั้นได้แจ้งความดำเนินคดีกับเคเบิลท้องถิ่นรายนี้ โดยให้ตำรวจปลอมตัวมาเช่าบ้านในแม่กลอง แล้วไปยื่นขอเคเบิลท้องถิ่นมาติดในบ้านที่เช่าไว้ แล้วถ่ายวีดีโอรายการที่รับมาจากเคเบิลบันทึกไว้เป็นหลักฐาน แล้วลงประจำวันนำหมายศาลไปที่สถานีเคเบิลดังกล่าว แจ้งข้อกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของ ubc ซึ่งเป็นผู้ได้ลิขสิทธิ์รายเดียวในประเทศไทยเท่านั้นที่มีอำนาจเผยแพร่ เมื่อคดีได้ถึงศาลฎีกาแล้วพิพากษายกฟ้อง มีความว่า การละเมิดต้องมีโลโก้ของโจทก์ และโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์เท่านั้นที่มีอำนาจแต่ผู้เดียว เพราะสัญญาณที่จำเลยนำมาเผยแพร่นั้นนำมาจากแอสโตร ไม่ได้นำของโจทก์มาใช้ และจำเลยยังนำสืบได้ความตามพยานหลักฐานที่มีการซื้อขายกันจริงจากต่างประเทศ เอาแบบย่อ ๆ นะครับเนื้อความมีแบบนี้ ถ้าต้องการก็ต้องไปหาที่เวบศาลฎีกา สรุปว่าในตอนนั้น แต่ตอนนี้ผมยังไม่เจอนะครับ ถ้าเราซื้อของแท้มาจาก k+ ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วเอามาเผยแฟร่ที่ร้านข้าวต้ม เป็นการละเมิดของ k+ ไม่เกี่ยวกับ cth แต่ผมไม่รู้ว่า cth เขามีสัญญากับ epl ว่าอย่าง เช่น เป็นผู้มีอำนาจเจ้าเดียวในประเทศไทยเท่านั้นใครเอามาใช้ไม่ได้ แต่ผมว่ากฎหมายเขียนแบบนี้มันน่าจะเกินไปหน่อย แต่ผมก็ไม่เคยเห็นสัญญา
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ozzypet
Newbie
*
กระทู้: 99


อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 05:43:42 pm »

เจอแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7429/2553
ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  7429/2553   พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ        โจทก์
บริษัท ยาร์ราตัน ลิมิเต็ด กับพวก        
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.พี.เอส. เคเบิลทีวี         
(สมุทรสงคราม) กับพวก        จำเลย

 
ป.วิ.อ. มาตรา 213
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6 วรรคหนึ่ง, 8(1), 29(2), 45, 69 วรรคสอง, 74
 
          โจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญากรุงเบิร์น กับเป็นประเทศภาคีในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า อันเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ได้ทำและนำออกสู่สาธารณชนซึ่งรายการกีฬาทางโทรทัศน์ช่อง “ESPN” กับ “STAR SPORTS” และรายการข่าวทางโทรทัศน์ข่าว “CNN” ตามลำดับ โดยการแพร่เสียงแพร่ภาพทางโทรทัศน์ จึงเป็นผู้สร้างสรรค์ซึ่งมีลิขสิทธิ์ร่วมกับบริษัทยูบีซี (UBC) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นทรูวิชันส์ (true visions) ทำ ความตกลงการมีสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวในการให้บริการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการ โทรทัศน์ช่องดังกล่าวแก่สมาชิกผู้รับบริการภายในเขตประเทศไทย แต่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ทั้ง 3 ช่องดังกล่าวมาจาก ล. ที่ประเทศมาเลเซีย โดยจ่ายค่าตอบแทนให้ ล. ทั้งปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ด้วยว่า การรับภาพและเสียงนั้น หากที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ไม่ปรากฏเครื่องหมาย “UBC” แสดง ว่าเป็นการรับภาพและเสียงจากต้นกำเนิดโดยตรง กรณีมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการ ช่องดังกล่าวมาจาก ล. ที่ประเทศมาเลเซีย จำเลยทั้งสองจึงมิได้กระทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำแก่งานของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นความผิดฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้าดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนปัญหาว่าจำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่ภาพแพร่เสียงจาก ล. มาโดยชอบหรือไม่ ล. ได้รับมอบสิทธิจากโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ให้ทำการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่องดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศ มาเลเซียและมีสิทธิอนุญาตช่วงให้จำเลยทั้งสองทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำใน ประเทศไทยหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 3 และที่ 4 อาจไปว่ากล่าวเอาแก่ ล. หรือไม่ต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ของกลางจึงไม่ใช่สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดไม่อาจริบได้ ต้องคืนของกลางทั้งหมดแก่เจ้าของ
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29, 69, 74 และ 76 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 และ 83 ริบของกลางทั้งหมดและให้จ่ายค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
          จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
          ระหว่างพิจารณา บริษัทยาร์ราตัน ลิมิเต็ด ห้างหุ้นส่วนสามัญอีจีพี.โค. ห้างหุ้นส่วนสามัญอีเอสพีเอ็นสตาร์สปอร์ตส และห้างหุ้นส่วนจำกัดเคเบิลนิวส์เน็ตเวิร์กแอลพี, แอลแอลแอลพี. ผู้ร้องทั้งสี่ ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตและเรียกผู้ร้องทั้งสี่ว่า โจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ตามลำดับ
          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 29 (2) ปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 400,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30 (ที่ถูก มาตรา 29) ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ให้จ่ายค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมที่ 3 หรือผู้เสียหายที่ 1 กับโจทก์ร่วมที่ 4 หรือผู้เสียหายที่ 2 และให้ริบของกลางทั้งหมด
          โจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่โจทก์ โจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 กับจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์คัดค้านรับฟังได้ว่า บริษัทโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายแห่งหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (British Virgin Islands) และห้างหุ้นส่วนสามัญโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของมลรัฐเดลาแวร์ (Delaware) ประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโจทก์ร่วมที่ 3 ภายใต้กฎหมายของมลรัฐเดลาแวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและ ศิลปกรรมกับเป็นประเทศภาคีในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกี่ยวกับการค้าอันเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทย เป็นภาคีอยู่ด้วย โจทก์ร่วมที่ 3 เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพรายการกีฬาทางโทรทัศน์ช่องอีเอส พีเอ็น (ESPN) และช่องสตาร์สปอร์ตส (STAR SPORTS) ส่วนโจทก์ร่วมที่ 4 จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของมลรัฐเดลาแวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพรายการข่าวทางโทรทัศน์ช่องซีเอ็นเอ็น (CNN) โดยโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ส่งสัญญาณรายการโทรทัศน์ดังกล่าวผ่านดาวเทียมไปยังเครื่องรับสัญญาณและถอดรหัสสัญญาณจากดาวเทียมที่เรียกว่า “ไออาร์ดี” (IRD) แปลงสัญญาณจากดาวเทียมให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง เมื่อส่งสัญญาณภาพและเสียงเข้าสู่เครื่องรับโทรทัศน์จะปรากฏภาพและเสียงรายการโทรทัศน์ของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ดังกล่าวที่เครื่องรับโทรทัศน์ของสมาชิกซึ่งตกลงจ่ายค่าตอบแทนสำหรับการรับบริการดังกล่าว สำหรับในประเทศไทย โจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 และโจทก์ร่วมที่ 4 ได้ร่วมกับบริษัทยูไนเต็ดบรอดแคสติงคอร์ปอร์เรชัน จำกัด (มหาชน) หรือบริษัทยูบีซี และบริษัทยูบีซีเคเบิลเน็ตเวิร์ก จำกัด (มหาชน) หรือยูบีซีเคเบิล ทำความตกลงการมีสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวในการให้บริการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN” ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” แก่สมาชิกผู้รับบริการภายในอาณาเขตประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ตามข้อกำหนดและข้อกำหนดเพิ่มเติมพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.4 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2546 เวลาประมาณ 15 นาฬิกา เจ้าพนักงานตำรวจพร้อมด้วยนายสุรพล ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากจากโจทก์ร่วมทั้งสี่นำหมายค้นของศาลอาญาเลขที่ 3747/2546 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2546 เอกสารหมาย จ.12 ไปทำการตรวจค้นที่ที่ทำการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนปากทางเข้าเมือง ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พบจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ในการตรวจค้นดังกล่าวเจ้าพนักงานยึดได้อุปกรณ์จานรับสัญญาณดาวเทียม 1 ชุด เครื่องรับสัญญาณความถี่สูง 1 เครื่อง เครื่องแปลงสัญญาณ (IRD) จำนวน 3 เครื่อง บัตรสมาร์ตการ์ดจำนวน 3 ใบ และเครื่องตั้งช่องสัญญาณจำนวน 3 เครื่อง เป็นของกลาง นายสุรพลผู้รับมอบอำนาจช่วงจากโจทก์ร่วมทั้งสี่ซึ่งได้ร้องทุกข์ต่อพนักงาน สอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 แล้วยืนยันให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสองว่า ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพของโจทก์ร่วมทั้งสี่โดยการแพร่ เสียงแพร่ภาพซ้ำเพื่อการค้า ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 3 และที่ 4 ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำแก่งานแพร่เสียง แพร่ภาพอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 29 (2) ดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้โจทก์กับโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 นำสืบว่า โจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 และโจทก์ร่วมที่ 4 ได้ร่วมกับบริษัทยูไนเต็ดบรอดแคสติง คอร์ปอร์เรชัน จำกัด (มหาชน) หรือบริษัทยูบีซี และบริษัทยูบีซีเคเบิลเน็ตเวิร์ก จำกัด (มหาชน) หรือยูบีซีเคเบิล ทำความตกลงการมีสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวในการให้บริการแพร่งเสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN” ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” แก่ สมาชิกผู้รับบริการภายในอาณาเขตประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ตามข้อกำหนดและข้อกำหนดเพิ่มเติมพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.4 โจทก์ร่วมทั้งสี่มอบอำนาจให้นายอดิศักดิ์ เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการทางกฎหมายแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ ภาพของโจทก์ร่วมทั้งสี่ในประเทศไทยและมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ นายอดิศักดิ์มอบอำนาจช่วงให้แก่นายสุรพล เมื่อนายอดิศักดิ์ได้รับแจ้งจากโจทก์ร่วมทั้งสี่ว่าที่จังหวัดสมุทรสงคราม ท้องที่ที่เกิดเหตุ มีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพของโจทก์ร่วมทั้งสี่ที่ขอให้ตรวจ สอบ นายอดิศักดิ์สั่งให้นายพิทักษ์ กับพวกไปดำเนินการ นายพิทักษ์เดินทางไปในท้องที่ที่เกิดเหตุ ไปเช่าบ้านเลขที่ 13/19 ซอยเอกชัย 2 ถนนเอกชัย ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม และไปติดต่อกับห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและนายพิทักษ์ได้รับผังรายการจำนวน 24 ช่อง ของจำเลยที่ 1 ของกลางไว้ด้วย ในวันนัดให้พนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ไปติดตั้งเคเบิลทีวีของจำเลยที่ 1 ตรงกับวันที่ 19 กันยายน 2546 เวลาประมาณ 13 นาฬิกา นายพิทักษ์ร่วมกับนายถาวร พนักงานบริษัทเดียวกันกับนายพิทักษ์เตรียมกล้องไปบันทึกภาพและเสียงในขณะที่ พนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ไปติดตั้งเคเบิลทีวีของจำเลยที่ 1 นายถาวรเป็นผู้บันทึกภาพและเสียงอยู่ที่ชั้นสองของบ้านเช่าดังกล่าว เมื่อพนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ติดตั้งเคเบิลทีวีนั้นเสร็จและกลับไปแล้ว นายถาวรได้เปิดและบันทึกภาพและเสียงที่ได้จากจอโทรทัศน์ที่พนักงานห้างหุ้น ส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ติดตั้งเคเบิลทีวีของจำเลยที่ 1 ไว้โดยบันทึกลงในม้วนเทปขนาดเล็กแล้วถ่ายลงในเทปคาสเซตโจทก์และโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ได้ส่งเทปดังกล่าวต่อศาลเป็นวัตถุพยานแล้วปรากฏว่าเป็นภาพและเสียงรายการของ พีเอสพีเอ็น สตาร์สปอร์ตส และซีเอ็นเอ็น โดยมีภาพตัวอักษร “ESPN” “STAR SPORTS” และ “CNN” ปรากฏ ที่มุมบนของจอโทรทัศน์ส่วนจำเลยที่ 2 นำสืบว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้นายมานพ พนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 เป็นผู้บริหารจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีกิจการอื่นๆ อีกจำนวน 8 กิจการ นานๆ จำเลยที่ 2 จึงไปดูกิจการของจำเลยที่ 1 สักครั้ง การประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีรายละเอียดอย่างใด จำเลยที่ 2 ไม่ทราบ หลังจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกกล่าวหาแล้ว จำเลยที่ 2 จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินกิจการถ่ายทอดภาพและเสียงรายการโทรทัศน์ช่องอีเอสพีเอ็น ช่องสตาร์สปอร์ตส และช่องซีเอ็นเอ็น นายมานพเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน ทำงานได้ทุกอย่างตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับการเงิน นายมานพเป็นผู้ติดต่อกับนายเลาว์บาร์กหมิง ชาวมาเลเซียซึ่งมีสถานที่อยู่ที่ประเทศมาเลเซียและสั่งซื้อรายการโทรทัศน์ ช่องอีเอสพีเอ็น สตาร์สปอร์ตส และซีเอ็นเอ็นจากนายเลาว์บาร์กหมิง โดยตกลงจ่ายค่าตอบแทนจำนวนปีละประมาณ 30,000 บาท นายมานพได้ให้นางสาวฐิติทิพย์ เป็นผู้ติดต่อเพื่อรับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ดังกล่าว นางสาวฐิติทิพย์มีตำแหน่งพนักงานฝ่ายบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลรายได้และสั่งซื้อสินค้าต่างๆ การทำงานในหน้าที่ต้องได้รับการมอบหมายจากนายมานพ นางสาวฐิติทิพย์เริ่มดำเนินการโดยได้รับโทรสารจากนายเลาว์บาร์กหมิงซึ่งส่ง มาจากประเทศมาเลเซียก่อน โดยได้รับโทรสารตามสำเนาหนังสือรวมจำนวน 2 ฉบับ เอกสารหมาย ล.4 เป็นเอกสารแสดงการได้รับสิทธิการถ่ายทอดภาพและเสียงรายการโทรทัศน์ทั้งสาม รายการนั้นตั้งแต่ปี 2543 เมื่อได้รับสิทธิมาแล้ว นางสาวฐิติทิพย์ก็ขออนุมัติจากนายมานพเพื่อชำระเงินแก่นายเลาว์บาร์กหมิง เมื่อได้รับอนุมัติก็โอนเงินจำนวน 3,598.20 ริงกิต หรือ 40,660 บาท จากจังหวัดสมุทรสงครามไปเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสตูล ตามเอกสารหมาย ล.5 การโอนเงินดังกล่าวเป็นการชำระเงินเป็นรายปีในปี 2546 เมื่อชำระเงินให้นายเลาว์บาร์กหมิงแล้วนายมานพก็ได้รับกล่องที่เรียกว่ารีซี ฟเวอร์และการ์ด 1 ใบ ที่เรียกว่าสมาร์ตการ์ดจากนายเลาว์บาร์กหมิง เห็นว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญโจทก์ร่วมที่ 3 และห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ร่วมที่ 4 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศในภาคีในอนุ สัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรมกับเป็นประเทศภาคี ในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าอันเป็น อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย เป็นผู้ทำและนำออกสู่สาธารณชนซึ่งรายการกีฬาทางโทรทัศน์ช่อง “ESPN” กับ “STAR SPORTS” และรายการข่าวทางโทรทัศน์ช่อง “CNN” ตามลำดับ โดยการแพร่เสียงแพร่ภาพทางโทรทัศน์รวมทั้งในประเทศไทยด้วย โจทก์ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นผู้สร้างสรรค์ซึ่งมีลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพรายการกีฬาและข่าวทางโทรทัศน์ดังกล่าวตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6 วรรคหนึ่ง และ 8 (1) สำหรับในประเทศไทย ขณะเกิดเหตุคดีนี้เมื่อระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2546 เวลากลางวันถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2546 เวลากลางวัน โจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ทำการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการกีฬาและข่าวทางโทรทัศน์ช่องดังกล่าวโดยร่วมกับบริษัทยูไนเต็ดบรอดแคสติงคอร์ปอร์เรชัน จำกัด (มหาชน) หรือบริษัทยูบีซี และบริษัทยูบีซีเคเบิลเน็ตเวอร์ก จำกัด (มหาชน) หรือยูบีซีเคเบิล ทำความตกลงการมีสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวในการให้บริการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN” ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” แก่สมาชิกผู้รับบริการภายในอาณาเขตประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ตามข้อกำหนดและข้อกำหนดเพิ่มเติมพร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.4 ในข้อนี้นายอดิศักดิ์ ผู้รับรอบอำนาจจากโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 เบิกความตอบทนายโจทก์ร่วมทั้งสี่ว่า โจทก์ร่วมที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้มอบสิทธิในการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ของตนให้แก่ผู้รับสิทธิในประเทศไทยคือบริษัทยูบีซี ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นทรูวิชันส์โดยเฉพาะโจทก์ร่วมทั้งสี่ไม่ได้อนุญาตให้ผู้ใดในประเทศไทยได้รับสิทธิดังกล่าวอีก สำหรับผู้รับสิทธิจากโจทก์ร่วมทั้งสี่จะปรากฏสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่จอเครื่องรับโทรทัศน์โดยมีสัญลักษณ์ว่า “UBC” หรือ “true visions” แล้วแต่กรณี การรับภาพและเสียงนั้นหากที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ไม่ปรากฏเครื่องหมาย “UBC” หรือ “true visions” หมายความว่า การรับภาพและเสียงนั้นเป็นการรับโดยตรงจากต้นกำเนิด คือจาก “ESPN”หรือ “STAR SPORTS” หรือ “CNN” ซึ่งเป็นไปได้ว่าหากรับภาพและเสียงรายการโทรทัศน์ของโจทก์ร่วมทั้งสี่ แต่ไม่ปรากฏเครื่องหมาย “UBC” หรือ “true visions” บน จอเครื่องรับโทรทัศน์ การรับภาพและเสียงนั้นเป็นการรับจากประเทศอื่น การให้สิทธิแพร่เสียงแพร่ภาพแก่ผู้ประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ในประเทศใด ประเทศหนึ่งนั้น ก็เป็นการให้สิทธิเฉพาะการแพร่เสียงแพร่ภาพแก่ผู้ประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ ดังกล่าวในประเทศนั้นเท่านั้น ผู้ประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ในประเทศที่ได้รับอนุญาตไม่อาจอนุญาตช่วงสิทธิ ในการแพร่เสียงแพร่ภาพนั้นต่อไปยังผู้อื่นในประเทศใดประเทศหนึ่งอีกได้ ปรากฏตามภาพถ่ายหมาย จ.6 ภาพที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ที่นายพิทักษ์ พยานโจทก์กับโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ได้ถ่ายรูปรายการโทรทัศน์ “STAR SPORTS” ช่อง “ESPN” และช่อง “CNN” ตามลำดับ จากจอเครื่องรับโทรทัศน์ซึ่งได้รับการติดตั้งเคเบิลทีวีของจำเลยที่ 1 จากพนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ที่บ้านเช่าเลขที่ 13/19 ซอยเอกชัย 2 ถนนเอกชัย ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2546 ว่าไม่มีเครื่องหมายตัวอักษร “UBC” ปรากฏบนจอเครื่องรับโทรทัศน์สำหรับรายการช่อง “STAR SPORTS” ช่อง “ESPN” และช่อง “CNN” ตามลำดับ นอกจากนี้ยังปรากฏตามภาพถ่ายหมาย จ.ร.2 ภาพที่ 1 และที่ 2 กับภาพที่ 3 ที่เจ้าพนักงานตำรวจได้ถ่ายรูปรายการโทรทัศน์ช่อง “CNN” และ “ESPN” ตามลำดับจากจอเครื่องรับโทรทัศน์ซึ่งได้รับการติดตั้งเคเบิลทีวีของจำเลยที่ 1 จากพนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ที่บ้านเช่าเลขที่ 13/19 ดังกล่าวเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2546 อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดีว่า ไม่มีเครื่องหมายตัวอักษร “UBC” ปรากฏบนจอเครื่องรับโทรทัศน์สำหรับรายการช่อง “CNN” และช่อง “ESPN” ตามลำดับเช่นกัน ดังนี้ทางนำสืบของโจทก์กับโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ที่ว่า การรับภาพและเสียนั้น หากที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ไม่ปรากฏเครื่องหมาย “UBC” แสดงว่าเป็นการรับภาพและเสียงจากต้นกำเนิดโดยตรงคือจาก “ESPN”หรือ “STAR SPORTS” หรือ “CNN” และเป็นไปได้ว่าเป็นการรับภาพและเสียงจากประเทศอื่น จึงเจือสมกับทางนำสืบของจำเลยที่ 2 ที่ว่า จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN”ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” มาจากนายเลาว์บาร์กหมิงที่ประเทศมาเลเซียโดยจ่ายค่าตอบแทนให้นายเลาว์บาร์กหมิงจำนวน 3,598.20 ริงกิต หรือ 40,660 บาท สำหรับการรับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ดังกล่าวในปี 2546 ที่เกิดเหตุจากพยานหลักฐานดังกล่าว กรณีย่อมมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN” ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” มาจากนายเลาว์บาร์กหมิงที่ประเทศมาเลเซีย พยานหลักฐานของโจทก์กับโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ในระบบผ่านเครือข่ายดาวเทียมโดยส่งสัญญาณไปยังเครื่องรับสัญญาณและถอดรหัสสัญญาณจากดาวเทียมที่เรียกว่า “IRD” แปลงสัญญาณ ดาวเทียมให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง เมื่อส่งสัญญาณภาพและเสียงเข้าสู่เครื่องรับโทรทัศน์จะปรากฏภาพและเสียง รายการโทรทัศน์ของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ที่เครื่องรับโทรทัศน์ของสมาชิกซึ่งตกลงจ่ายค่าตอบแทนสำหรับการรับบริการดัง กล่าวดังที่โจทก์บรรยายในฟ้อง นอกจากนี้ พยานหลักฐานของโจทก์กับโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำแก่งานแพร่ เสียงแพร่ภาพที่โจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกับบริษัทยูบีซีและยูบีซีเคเบิลทำความตกลงการมีสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวในการให้บริการแพร่เสียงแพร่ภาพายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN”ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” แก่สมาชิกผู้รับบริการภายในอาณาเขตประเทศไทย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN”ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” ของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6 วรรคหนึ่ง และ 8 (1) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบของความผิดและไม่เป็นความผิดฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์โดยการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพอันมี ลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 29 (2) ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนปัญหาว่า จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพจากนายเลาว์บาร์กหมิงมาโดยชอบ หรือไม่ นายเลาว์บาร์กหมิงได้รับมอบสิทธิจากโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ให้ทำการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่อง “ESPN”ช่อง “STAR SPORTS” และช่อง “CNN” แต่ ผู้เดียวในประเทศมาเลเซีย และมีสิทธิอนุญาตช่วงให้จำเลยทั้งสองทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำในประเทศไทย หรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 อาจไปว่ากล่าวเอาแก่นายเลาว์บาร์กหมิงในประเทศมาเลเซียหรือไม่ต่อไป ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสี่ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 ได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 อย่างไร การมีตำแหน่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ไม่ใช่พยานหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดด้วยและพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล เมื่อได้วินิจฉัยดังนี้แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ที่ว่า เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 74 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดเพราะไม่ครบองค์ประกอบของความผิด ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 29 (2) อันเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงมีคำพิพากษายก ฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตา 213 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง อุปกรณ์จานรับสัญญาณดาวเทียม 1 ชุด เครื่องรับสัญญาณความถี่สูง 1 เครื่อง เครื่องแปลงสัญญาณ (IRD) จำนวน 3 เครื่อง บัตรสมาร์ตการ์ดจำนวน 3 ใบ เครื่องตั้งช่องสัญญาณจำนวน 3 เครื่อง สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าติดตั้งและค่าสมาชิก 1 แผ่น และสำเนาผังรายการของจำเลยที่ 1 จำนวน 1 แผ่น ของกลางที่โจทก์ฟ้องว่าเป็นสิ่งที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิดขอ ให้ริบนั้นจึงรับฟังไม่ได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ไม่อาจริบตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ได้ จึงต้องคืนของกลางทั้งหมดแก่เจ้าของ”
          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ด้วย คืนของกลางทั้งหมดแก่เจ้าของ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
 
( ปริญญา ดีผดุง - อร่าม เสนามนตรี - ธัชพันธ์ ประพุทธนิติสาร )
 
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
dekdee2516
Newbie
*
กระทู้: 69


อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: 21, สิงหาคม 2013, 11:03:33 pm »

อ่านยาวมาก แต่ชัดเจน จบแล้วนะครับ สรุปว่าโลโก้
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  
 
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.7 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.03 วินาที กับ 19 คำสั่ง